วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

ปลาสะงัว

                                                          ปลาสะงัว




ชื่อไทย                ปลาสะงัว  ปลาด่านแดง  ปลานางแดง
ชื่อสามัญ             Black Ghost Catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์     Hemisilurus mekongensis

ถิ่นอาศัย
ในแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาใหญ่ ตั้งแต่จีนตอนใต้ ลาว พม่า ไทย กัมพูชา และอาจจะถึงเวียดนามใต้

ขนาด       โตเต็มที่ยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร
      *ปลาสะงัว เป็นปลาหนัง (Catfish ) ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน ( Family Siluridae ) มีรูปร่าง แบนข้าง เหมือนปลาเนื้ออ่อนทั่วไป ส่วนหัวมุมปากอยู่ด้านล่างค่อนข้างเล็ก มีหนวดหนึ่งคู่ เห็นได้ชัดเจน 
      * ซึ่งหนวดมีความแตกต่างในปลาทั้ง 2เพศ 
         - ปลาตัวเมีย ที่ตัวเต็มวัยขนาดความยาวกว่า 30 ซม.ส่วนปลายของหนวดจะแบนข้างและแตกเป็นฝอย
         - ปลาตัวผู้ และปลาตัวเมียขนาดไม่เต็มวัย หนวดจะเป็นเส้นเดี่ยวปกติ มีครีบเพียง 6 ครีบ ไม่มีครีบหลัง สีของลำตัวเมื่อจับได้ใหม่จะเป็นสีม่วงอมชมพู แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในน้ำใส ปลาจะเปลี่ยนสีจนเป็นสีดำคล้ำ ตามีขนาดค่อนข้างเล็ก และมีรูจมูกอยู่ 2 คู่
        *ปลาสะงัว จัดเป็นปลาที่พบได้ค่อนข้างน้อย มีรูปร่างแปลกตา มีนิสัยปราดเปรียว และว่องไว โดยเฉพาะเวลาตกใจ กินอาหารจากหน้าดิน หรือกลางน้ำ แต่จะไม่ขึ้นมากินบนผิวน้ำ เป็นปลาที่มีนิสัยไม่ดุร้าย


การเลี้ยงปลาสะงัว

สภาพน้ำ   น้ำสะอาดที่มีระบบกรองที่ดีไม่มีกรด หรือด่างมากเกินไป อุณหภูมิ 22 - 28 องสาเวสเซียส

ขนาดตู้     ควรใช้ตู้ค่อนข้างใหญ่ ขนาดไม่ควรต่ำกว่า 30 นิ้วขึ้นไป ควรมีฝาปิดมิดชิด ไม่ควรมีแสงสว่างมากเกินไป
สภาพแวดล้อม   ควรจัดค่อนข้างโล่ง ไม่ควรใช้หินหรือตอไม้ที่แหลมคม เพราะปลาจะชนเกิดบาดแผลได้ง่าย

อุปนิสัย   ในที่เลี้ยง เป็นปลาไม่ดุร้าย ในทางตรงกันข้ามมักจะถูกปลาอื่นกัด ทำร้าย ควรเลี้ยงปนกันหลายตัว หรือปนกับปลาในสกุลเนื้ออ่อนชนิดอื่นที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน

อาหาร  อาหารเป็นชนิดต่างๆดดยเแพาะที่อยู่ตามพื้นด้านล่าง เช่น กุ้งฝอย หนอนแดง ไส้เดือนน้ำ ไรทะเล ไม่ชอบกินอาหารบนผิวน้ำ

ข้อระวัง  ปลาสะงัว เป็นปลาที่อ่อนแอโดยเฉพาะช่วงแรกที่ถูกจับได้ใหม่ๆ ต้องการลำเลียงอย่างพิถีพิถัน นอกจากนี้ยังติดเชื้อและเป็นโรคจุดขาวได้ง่ายมาก ระวังและป้องกันตั้งแต่แรกจะทำให้ปลารอดได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น