วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

การเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยง


 



 


การเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยง มีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้

ชนิดของปลาสวยงาม

- ความสวยงามของปลา

- ความหลากหลายของสายพันธุ์ปลา

- ปัจจัยในการเลี้ยง



นิสัยของปลาสวยงาม นิสัยการกินอาหารของปลา จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ คือ

- ประเภทปลากินพืช ( Herbivorous Fishes )

- ประเภทปลากินเนื้อ ( Carnivorous Fishes ) แบ่งตามลักษณะการกินแต่ละประเภท ดังนี้


1. ปลาล่าเนื้อ  ( Piscivores or Predator )

2. ปลาแทะซาก  ( Scavenger )

3. ปลากินแมลงและตัวอ่อนแมลง  ( Insectivores )

4. ปลากินแพลงก์ตอน ( Plankton Feeder ) 


- ประเภทปลาที่กินทั้งพืชและเนื้อ ( Omnivorous Fishes )



ลักษณะนิสัยและการอยู่ร่วมกันของปลา แบ่งออกเป็น

- ปลาสังคม

- ปลาสันโดษ



 ความอดทนของปลาแต่ละชนิดมี ข้อแตกต่างกันดังนี้

- อดทนต่อพื้นที่จำักัด

- อดทนต่อการเกิดโรค เป็นต้น

โรคปลา รักษาได้



โรคเห็บปลา

  • เป็นปรสิตภายนอก เห็บปลามีขนาดประมาณ 5-10 มิลลิเมตร สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
ลักษณะทางชีวภาพของเห็บปลา
  • ลำตัวมีสีเขียวปนเหลือง หรือน้ำตาล ตัวกลมแบน
  • ด้านหลังโค้งมน ลำตัวเป็นปล้องเชื่อมติดกัน
  • ส่วนของปากจะเป็นอวัยวะสำหรับดูดเกาะ มีตารวม 2 ตา แต่ระหว่างตารวมมีตาเดี่ยวคั่นระหว่างกลาง
  • ระหว่างตาทั้ง 3 จะมีวงขนาดใหญ่ ทำน้าที่เป็นอวัยวะสหรับเกาะตัวปลา
  • มีปากอยู่หลังวง
  • ท่อทางเดินอาหารสั้น
  • มีขา 6 คู่ คู่ที่ 1-4 จะเห็นชัดเจน ขาคู่ที่ 5 และ 6 จะมองไม่ชัด
  • ส่วนหางยื่นออกมาแบ่งเป็น 2 แฉก
  • อวัยวะสืบพันธุ์อยู่ที่บริเวณหาง ตัวผู้มีอัณฑะใหญ่ 2 อัน ส่วนตัวเมียมีอวัยวะสำหรับรับน้ำเชื้อ 1 คู่ รังไข่อยู่บริเวณกลางลำตัว
วงจรชีวิตของเห็บปลา

  • ไข่ที่ได้รับการผสมพันธู์แล้วจะอยูในท่อนำไข่บริเวณกลางลำตัว
  • เห็บปลาจะวางไข่บนก้อนหิน หรือวัตถุแข็งๆในน้ำ ซึ่งไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 9-15 วันตัวอ่อนว่ายน้ำเป็นอิสระประมาณ 20-24 ชม.แล้วจะเข้าเกาะปลา ถ้าไม่สามารถเกาะปลาภายใน 24 ชม.จะตาย เมื่อเกาะปลาแล้ว 3-5 วันจะลอกคราบครั้งแรก ลอกคราบ 6 ครั้งถึงจะโตเต็มวัย
  • ตัวเมียวางไข่แล้วจะตาย
ลักษณะอาการของโรค
  • บริเวณที่ถูกเห็บปลาเกาะจะเป็นแผล ทำให้ตกเลือดบริเวณผิวหนังทั่วไปเห็บปลา ส่วนใหญ่จะเกาะอยู่ตามผิว เหงือก หัว ครีบของปลา กินเซลผิวหนังเป็นอาหาร สามารถย้ายตำแหน่งการเกาะได้ ทำให้ผิวปลาเป็นแผล มักจะเกิดกับปลาที่มีเกล็ด เช่นปลาช่อน ปลาแรด ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน เป็นต้น ปลาที่ติดโรคนี้เป็นเวลานาน ปลาจะว่ายน้ำอย่างกระวนกระวาย โดยถูกับวัสดุ หรือผนังตู้ เห็บปลาที่พบในประเทศไทย ได้แก่ Argulus
การป้องกันและรักษา

  • แยกปลาที่ตาย หรือปลาที่มีเห็บติดออกจากบ่อ พร้อมทั้งแยกปลาจากที่เลี้ยงเดิม เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเห็บปลาติดมาด้วย
  • กำจัดเห็บปลาด้วยการคีบออก ถ้าเห็บเกาะแน่นให้หยดน้ำเกลือเข้มข้น 1-2 หยดลงบนตัวแล้วคีบออก
  • แช่นำยาดิพเพอร์เร็กซ์ 24 ชม. ในอัตราส่วน 0.5-0.75 กรัมต่อน้ำ 1000 ลิตร
  • แช่ปลาในด่างทับทิม นานประมาณ 15-30 นาที แล้วจึงย้ายปลาไปไว้ที่สะอาด
  • ปลาที่เลี้ยงในบ่อ ให้ตากบ่อให้แห้งแล้วโรยปูนขาวให้ทั่ว

การสืบพันธุ์ปลา




  วิธีสืบพันธุ์ปลา แบ่งได้ออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
 
1. แบบแยกเพศ เป็นการผสมพันธุ์โดยที่ปลาเพสผู้จะเป็นฝ่ายผลิตน้ำเชื้อ และฝ่ายเพศเมียจะเป็นฝ่ายผลิตไข่ แล้วนำมาผสมกันเมื่อถึงเวลาที่สมควรหรือในฤดูวางไข่


2. แบบกระเทย เป็นการผสมพันธุ์ที่ไม่ สามรถเพิ่มผลผลิตในตัวเองได้ จึงไม่ค่อยถูกนำมาใช้สืบพันธุ์กันเท่าไร ลักษณะการสืบพันธุ์ ปลาแบบนี้ก็คือการใช้ปลาประเภท 2 เพศ ในตัวเดียว ที่ในช่วงแรกนั้นจะเป็นเพศผู้แล้วต่อมาก็จะเปลี่ยนเป็นเพศเมีย


3. แบบไม่ได้รับการผสม เป็นการสืบ พันธุ์ปลาโดยใช้เชื้อจาก ตัวผู้ในการกระตุ้นให้ไข่สุกเท่านั้น ฉะนั้นในปลาประเภทเดียวกันจึงไม่สามารถใช้ปลาเพศผู้สืบพันธุ์ได้


  • ขั้นตอนแรกของการเริ่มเพาะพันธุ์ปลาตู้ ควรแยกแยะเพศของปลาออกจากกันให้ถูกต้องเสียก่อน เพราะไม่เช่นนั้น แล้วการเพาะพันธุ์ปลาจะไม่ได้ผลเลย การแยกเพศของปลาโดยทั่วไปก็นิยมใช้วิธีการสังเกตลักษณะภายนอกของตัวปลาตาม ลักษณะรูปร่างของปลา

ขนนกทะเล






ขนนกทะเล ( Sea Feather )
  • ขนนกทะเล เป็นสัตว์ทะเลที่มีลักษณะคล้ายพืช และมีอยู่หลายชนิด แต่ละตัวมีรูปร่างเป็นโพลิปขนาดเล็ก แต่อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือโคโลนี มักพบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังเกาะกับหลักที่ปักอยู่ตามชายฝั่งเสาสะพานท่า เรือ ตลอดจนวัสดุที่ลอยอยู่ในทะเล บางชนิดมีลักษณะคล้ายขนนกมาก และบางชนิดคล้ายเฟิร์น เมื่อผิวหนังเราสัมผัสกับโคโลนีของขนนกทะเล โพลิปจะปล่อยนีมาโตซีส ( nematocyst ) ที่มีน้ำพิษแทรกเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน

  • ขนาดของขนนกทะเลความแตกต่างกัน ส่วนใหญ่โคโลนี่ที่คล้ายกิ่งไม้ หรือแตกแขนงคล้ายขนนก  มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร  บางชนิดอาจมีโคโลนีขนาดสูงถึง 1เมตร

การป้องกันรักษา


ล้างบริเวณที่ถูกพิษด้วย แอลกอฮอล์ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำเย็น หากอาการรุนแรงมาก ต้องส่งแพทย์ทันทีดังนั้นจึงเลี่ยงการสัมผัสขนนกทะเลโดยตรงและใส่เสื้อผ้า ป้องกันอันตราย

ฟองน้ำ







ฟองน้ำ ( Sponge )

  • ฟองน้ำเป็นสัตว์ที่เกาะอยู่นิ่งอยู่ กับที่ มีลำตัวเป็นรูพรุนเล็กๆเต็มไปหมด รูพรุนเหล่านี้จะเป็นทางผ่านของน้ำ  ซึ่งเป็นการนำออกซิเจนและอาหารเข้าสู่ตัวฟองน้ำ ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยอาศัยระบบท่อน้ำไหลผ่านลำตัว มีโครงค้ำจุนร่างกายเป็นหนามที่เรียกว่า สปิคุล ( spicule ) หรือเส้นใยอ่อนนุ่ม ( spongin )

  • ลักษณะเนื้อเยื่อขาดการประสานงานระหว่าง เซลล์ จึงยังไม่เป็นเนื้อเยื่อที่แท้จริง ฟองน้ำเป็นสัตว์กึ่งกลางระหว่างเซลล์เดียว และสัตว์หลายเซลล์ชนิดที่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะรับความรู้สึกและระบบประสาท

  • ฟองน้ำทะเล พบได้ในทะเลทุกแห่ง และทุกระดับความลึก บางชนิดอยู่ในน้ำกร่อย ตัวแก่จะเกาะอยู่กับสิ่งต่างๆตามชายฝั่งทะเล บางชนิดอยู่ตามท้องทะเลที่มีโคลนทราย รูปร่างของฟองน้ำมักจะเหมือนกับสิ่งที่เกาะอยู่ ดังนั้นฟองน้ำชนิดเดียวกันจึงมีรูปร่างที่แตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม

  • ฟองน้ำมีความสามารถสูงในการงอกใหม่ เพื่อสร้างส่วนที่เกิดบาดแผล หรือขาดหายไป แต่ถ้าฟองน้ำถูกตัดเป็นชิ้นเล็กๆ หรือถ้าแยกเซลล์ในฟองน้ำออกกันหมด แล้วปล่อยทิ้งไว้จะเกิดการรวมกลุ่มเป็นเซลล์กลุ่มเล็กๆ ซึ่งชิ้นของฟองน้ำแต่ละชิ้น และกลุ่มเซลล์แต่ละกลุ่มสามารถเจริญขึ้นมาเป็นฟองน้ำใหม่ได้

  • ฟองน้ำบางชนิดมีขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ตามแนวปะการังอาจมีผิวขุรขระ อันเนื่องมาจากสปิคุลยื่ยออกมาบริเวณผิว หากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ สัมผัสกับฟองน้ำอาจทำให้เกิดรอยผื่นแดงบวม และมีอาการคันได้


การป้องกันรักษา


- หลีกเลี่ยงจากการสัมผัสฟองน้ำขนาดใหญ่ตามแนวปะการัง เช่น ฟองน้ำครก แต่หากเป็นความบังเอิญที่ไม่ได้ระวังตัว  การปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือ การทำให้สปิคุลของฟองน้ำหลุดออก โดยการล้างแผลบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำส้ม ( กรดน้ำส้ม 5 เปอร์เซนต์ ) เป็นเวลา 15  - 30 นาที หรือใช้ยาทาจำพวกแอนตีฮีสตามีน ทาบรรเทาอาการผื่นคัน

ม้าน้ำ



ม้าน้ำ  ( Seahorse )

 
 
ชื่อวิทยาศาสตร์         Hippocampus kuda Bleeker

ตระกูล                    SYNGNATHIDAE 

ลักษณะโดยทั่วไป
- ม้าน้ำ เป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน คือ มีกระดูกหรือก้างมาห่อหุ้มเป็นเกราะอยู่ภายนอกตัวแทนเกล็ด

- ส่วนหัวจะมีลักษณะเหมือนม้าที่มีปากยื่นออกเป็นท่อ ไม่มีกราม ตรงปลายมีที่เปิดใช้สำหรับดูดกินอาหาร  ลำตัวปกคลุมด้วยเปลือกแข็ง

- ส่วนหาง แทนที่จะเป็นครีบสำหรับว่ายน้ำเหมือนปลาชนิดอื่น กลับมีหางยาวเหมือนสัตว์เลื้อยคลาน มีไว้เพียงเพื่อเกี่ยวยึดตัวเองกับพืชน้ำ หรือปะการังในน้ำ

- มีครีบอก และครีบบางใส ตรงเอวอีกครีบหนึ่งโบกพัดกระพือ โดยครีบทั้ง 2 นี้ จะโบกพัดด้วยความเร็วประมาณ 20 -30 ครั้งต่อวินาที  ทำให้เคลื่อนไหวไปมาได้อย่างช้าๆ 

- ปกติม้าน้ำมักจะว่ายน้ำเป็นในลักษณะขึ้น - ลง มากกว่าไปข้างหน้า - ข้างหลัง เหมือนปลาชนิดอื่น

- ความยาวโดยเฉลี่ยเมื่อเหยียดตรงจะยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร แล้วแต่ชนิด 

- พื้นลำตัวมีสีดำ หรือสีเหลือง หรือสีม่วง และสีเหลืองหรือม่วงสามารถเปลี่ยนสีได้ 

- ตัวผู้จะมีลักษณะที่ต่างจากตัวเมีย คือมีถุงหน้าท้อง ( brood pouch ) สำหรับฟักไข่เป็นตัวและทำหน้าที่คลอดลูกแทนตัวเมีย
 

แหล่งที่อยู่อาศัย

- ม้าน้ำอาศัยอยู่ตามเสาโป๊ะหลักหอยแมลงภู่ หรือตามดงสาหร่าย  และบริเวณชายฝั่งทะเล


อาหาร

- จำพวกแพลงก์ตอน และสัตว์น้ำ ขนาดเล็กๆ


เหมือนจิงโจ้ และจะอุ้มท้องนานประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ตัวเมียจะคอยวนเวียนอยู่ใกล้ๆ จนกว่าตัวผู้จะฝักลูกออกมาเป็นตัว และจะอยู่ด้วยกันตลอด จนกว่าตัวใดตัวหนึ่งจะตาย ตัวที่เหลือถึงจะไปจับคู่ใหม่แต่ใช้เวลานานพอสมควร

ปลาผีเสื้อ





ปลาผีเสื้อ  ( Butterflyfish)

 
 
ชื่อวิทยาศาสตร์     Chaetodon lunulatus

วงศ์ตระกูล           Chaetodontidae พบประมาณ 120 ชนิดทั่วโลก ในเมืองไทย พบไม่ต่ำกว่า 25 ชนิด
แหล่งพบ             ในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน

 
ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาผีเสื้อมีลำตัวสั้น แลนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด

- ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้า และก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง

- ปลาผีเสื้อมีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้าๆ ไม่ว่องไวเหมือนปลาอื่นๆ

- เป็นปลาที่หากินเวลากลางวัน เมื่อพลบค่ำจะหลบเข้าไปหาที่หลับนอนตามซอกหิน หรือโพรงปะการัง ในเวลากลางคืนปลาผีเสื้อจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นโดยจะเป็นแต้มสีน้ำตาล หรือแถบสีเทาก็เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายและสัตรู

- ปลาผีเสื้อ กินปะการังเป็นอาหาร จึงเป็นสัตวืที่มีความเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการัง นักวิทยาศาสตร์ใช้ปลาผีเสื้อ เป็นเกณฑ์กำหนดความสมบูรณ์ของแนวปะการัง

ปลาสินสมุทรบั้ง




 
  ปลาสินสมุทรบั้ง



ชื่ออังกฤษ      Regal Angelfish


ชื่อวิทยาศาสตร์   Pygoplites diacanthus

ตระกูล   Chastodontidae


แหล่งที่อยู่  พบในเขตร้อน อินโด-แปซิฟิก


ลักษณะ  รูปร่างคล้ายปลาตระกูล Pomacanthus

  • สี  สีของลูกปลาและปลาที่โตแล้วจะต่างกัน ตอนเป็นลูกปลาจะมีแถบสีอ่อนซึ่งมีขอบสีเข้ม 4 แถบพาดผ่านสีข้างช่วงตอนท้ายของครีบหลังจะมีปื้นสีเข้มขนาดใหญ่ ส่วนปลาที่โตแล้ว ตอนบนของหัวจะมีสีฟ้าอมเทา จมูก ลูกคางและหน้าอกจะเป็นสีเหลืองอ่อน ลำตัวมีสีส้มสดเป็นสีพื้นและมีแนวสีฟ้า่อ่อน ขอบเข้มอีก 5-9 เส้นแนวพาดตรงจากหลังจรดบริเวณท้อง ครีบหางสีเหลืองสด

ขนาด   ประมาณ 10นิ้ว ( 25 ซม. )


สภาพแวดล้อม  อุณหภูมิ  79 - 84 องศาฟาเรนไฮด์ ( 26 - 29 องศาเซลเซียส )


ค่า pH มากกว่า 8 ความหนาแน่นของน้ำ 1,020 -1,023


การส่องสว่าง    ชอบแสงสว่าง


อุปนิสัย ชอบอยู่ตัวเดียว หวงอาณาเขต เวลาเลี้ยงในตู้ปลาจะมีลักษณะที่ก้าวร้าวมาก ควรเลี้ยงตัวเดียวในตู้ปลาขนาดใหญ่


การเลี้ยงดู    ตามธรรมชาติกิน mollusk และมีเปลือกแข็งประเภท ปู กุ้งหอย และ tubfex  ต้องการอาหารประเภทผักจำนวนมาก ควรให้วิตามินอาทิตย์ละครั้ง


ข้อแนะนำ   เข้าได้ดีกับปลา butterfly fish และ Paracanthurus hepatus

ปลากระพง




 ปลากระพง

ชื่อสามัญ                 Snappers

ชื่อวิทยาศาสตร์        Lutjanidae

ขนาดลำตัว             20 -70 เซ็นติเมตร


ลักษณะโดยทั่วไป


- ปลากระพงโดยทั่วไปแล้วจะเป็นปลาขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ 

- ตัวเต็มวัยอาจมีขนาดได้ตั้งแต่ 20-70 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับเป็นปลากระพงสายพันธุ์ใด

- มีรูปร่างลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากค่อนข้างยาวและแหลม นัยน์ตาโต ปากกว้างยืดหดได้ มุมปากอยู่เลยไปทางหลังนัยน์ตา ฟันเป็นฟันเขี้ยวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง ขอบกระดูกแก้มเป็นหนามแหลม ขอบกระดูกกระพ้งเหงือกแข็งและคม คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนามเมื่อลูบจะสากมือ ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน


- พื้นลำตัวสีขาวปนน้ำตาล แนวสันท้องสีขาวเงิน บางพันธุ์ยาวสุด 2 เมตร หนักได้ถึง 60 ก.ก. 


-โดยปลาที่พบในทะเลจะมีขนาดใหญ่กว่าปลาที่พบในน้ำจืด


- ปลากระพงมักจะอยู่ร่วมตัวกันเป็นฝูง


อาหารของปลากระพง  ได้แก่ สัตว์ในกลุ่มครัสเตเซี่ยน หรือเป็นพวกปลา กุ้งที่มีขนาดตัวเล็ก

  • ปลากระพงถ้ายังไม่โตเต็มวัย อาจพบได้บริเวณแหล่งน้ำกร่อยใกล้ชายฝั่ง และพวกมันจะอพยพไปสู่ท้องทะเลเมื่อโตเต็มวัย แหล่งที่อยู่ของปลากระพงตัวเต็มวัย คือ บริเวณแนวปะการังต่างๆ เป็นต้น

ปลาเก๋าหรือปลากะรัง




 ปลากะรังหรือปลาเก๋า



ชื่อสามัญ                  Greasy Grouper, Brown-Spotted Rockcod

ชื่อวิทยาศาสตร์         Epinephelus tauvina ( Forskal )

ขนาดลำตัว              90 เซนติเมตร

ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาเก๋าสำหรับเลี้ยงเพื่อสวยงามนั้นมีอยู่หลายพันธุ์ โดยลักษณะโดยรวมๆของแต่ละพันธุ์จะมีลำตัวที่ค่อนข้างกลมเรียวปากกว้าง ครีบมีลักษณะที่แข็งแรง 

- ลำตัวยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กสีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือ บั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำลึกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด 

- ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่่อนมีลักษณะโปร่งใส

แหล่งอาศัยของปลาเก๋า

- ได้แก่ตามพื้นทะเล ปลาเก๋านี้นอกจากเลี้ยงเพื่อความสวยงามแล้ว นิยมนำมารับประทานด้วย  

- ปลาเก่านี้สามารถพบได้ ทั้งน้ำทะเล น้ำจืด และน้ำกร่อย

ขนาดของปลาเก๋า

- ปลาเมื่อโตเต็มที่แล้วจะยาวประมาณ 90 เซนติเมตร

- แต่ในบางชนิดแล้วมีขนาดความยาวไม่ีกี่เซนติเมตร จนถึง 2.5 เมตรหรือ 3 เมตร หนักถึง 400กิโลกรัม ซึ่งเป็นชนิดหนึ่งของปลาในสกุลนี้


ปลาเก่าบางชนิดสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามวัย ซึ่งในบางชนิดเล็กจะเป็นเพศเมียแต่เมื่อโตขึ้นน้ำหนักราว 7 กิโลกรัม จะเป็นเปลี่ยนกลายเป็นเพศผู้



ปลากะรังจิ๋ว

ชื่อสามัญ              Lyretail basslet

ชื่อวิทยาศาสตร์     Pseudanthias squaamipinnis

ขนาดลำตัว          15  เซนติเมตร


ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาเก๋าจิ๋ว  เป็นปลาสวยงามจัดอยู่ในตระกูลปลาเก๋า หรือปลากะรังเช่นกัน แต่ขนาดเล็กกว่ากันมาก พวกมันกินแพลงตอนและปะการังอ่อนเป็นอาหาร ปลากะรังจิ๋วมีสีสันสวยงามน่าเลี้ยง มีหลายพันธุ์มากมาย เช่น Yellow spotted anthias ,Square anthias , Brazillan gramma, Harlequin basslet, Royal gramma เป็นต้น

สำหรับปลาเก๋าที่พบในทะเล มักมีนิสัยชอบอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่โดยไม่กี่ตัวตามโขดหิน แนวปะการังหรือกองหิน กองซากปรักหักพังใต้น้ำ ออกหาหินในเวลากลางคืน สามารถพบได้ตามปากแม่น้ำหรือตามป่าชายเลน 

- ปลาเก่า มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก เพราะปลาเก๋าหลายชนิดนิยมใช้เพื่อบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลากะรังปากแม่น้ำ หรือ ปลาเก๋าเสือ ซึงมีการเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพเพื่อบริโภค ดดยนิยมเลี้ยงในกระชัง

ปลาหูช้าง





ปลาหูช้าง


ชื่อสามัญ               Angelfish, Round Batfish

ชื่อวิทยาศาสตร์       Platax orbicularis ( Forskal )

ขนาดลำตัว           40 - 60 เซนติเมตร


ลักษณะโดยทั่วไป


- ปลาหูช้าง ลำตัวแบนทางด้านข้าง สันด้านหลังมีส่วนโค้งมาก ลำตัวของปลาหูช้างจะค่อนข้างอ้วน 

- ครีบหูและครีบท้องอยู่ในแนวเดียวกัน ครีบหางปลายตัดตรง

- ลำตัวสีน้ำตาล มีแถบสีดำพาดขวาง 3 แถบ 

- ในปลาขนาดเล็ก ครีบหลัง ครีบก้น และครีบท้องค่อนข้างยาวมาก และจะหดสั้นเมื่อโตขึ้น ปลาขนาดเล็กจะมีสีส้มคล้ายใบไม้ เพื่อเป็นการอำพรางตัว

- ปลาหูช้างสามารถโตและมีความยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร



อุปนิสัยของปลาหูช้าง


- ปลาหูช้างเป็นปลาีที่ค่อนข้างรักสงบ ค่อนข้างเชื่องช้า ขี้ตกง่าย เมื่อปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้แล้วจะมีความทนทานสูง โตเร็ว กินอาหารได้แทบทุกชนิด ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตามแนวปะการั


อาหารของปลาหูช้างที่ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์


- ปลาสดจำพวกปลาหลังเขียวและปลาข้างเหลือง นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆผสมวิตามินรวม โดยให้อาหาร 2 วันต่อครั้ง

สำหรับพันธุ์ปลาหูช้าง Round Batfish จะมีจุดสังเกตุอีกจุดหนึ่งของปลาหูช้าง ทางด้านบนส่วนหัวของปลาจะมีโหนกมองดูคล้ายๆกับหัวของช้างเช่นกัน

สำหรับปลาหูช้าง Teira Batfish จะมีส่วนของรูปร่างเหมือนกับหูช้างมากทีเดียว



- ปลาหูช้าง ชอบอาศัยอยู่ตามกองหินใต้น้ำริมชายฝั่งทะเลทั้งในอ่าวไทย และฝั่งมหาสมุทรอินเดีย

ปลาไหลมอเรย์





ปลาไหลมอเรย์

ชื่อสามัญ             Morayfish

ชื่อวิทยาศาสตร์     Moray eels

ขนาดลำตัว  ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาไหลมอเรย์ เป็นปลาไหลในตระกูลปลา Muraenidae ปลาชนิดนี้จัดว่าเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างมีพิษพอตัวเลยทีเดียว

- แหล่งอาศัยของปลาไหลมอเรย์ จะพบตามโพรงหิน ปลาไหลชนิดนี้มีความสามารถในการขุดโพรงเป็นที่หลบซ่อนตัวได้เก่งมาก

- เวลาในการออกหากินจะออกหากินเฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้น

- สามารถพบได้ทั้งอยู่ตัวเดียวและอยู่รวมกันเป็นฝูง

- รูปร่างของปลาไหลมอเรย์ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายปลาไหลทั่วๆไป มีผิวหนังเรียบหนาและลื่นมาก ไม่มีเกล็ดปกคลุมร่างกาย

- หน้าตาโดยรวมแล้วค่อนข้างหน้ากลัว เพราะมีเขี้ยวแหลม และยังมีการอ้าปากเป็นระยะๆ เพื่อการหายใจด้วย

- ปลาไหลมอเรย์มีความสามารถในการสัมผัสกลิ่นได้ดีมาก













ปลาไหลมอเรย์จุดขาว
ชื่อสามัญ                   White-spotted moray
ชื่อวิทยาศาสตร์           Gymnothorax rueppelliae


ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาไหลมอเรย์จุดขาว จะมีจุดสีขาวเล็กๆกระจายอยู่ทั่วบริเวณลำตัว การหากินจะออกหากินตอนกลางคืน





ปลาไหลมอเรย์ปานดำ

ชื่อสามัญ             Black-spotted moray

ชื่อวิทยาศาสตร์     Gymnothorax tessellata

ลักษณะโดยทั่วไป


- ปลาไหลมอเรย์ปานดำ สีผิวหนังจะเป็นสีขาวถูกตัดสีกันอย่างลงตัวด้วยสีน้ำตาลเข้ม 

- ปลาไหลมอเรย์ปานดำ ( Black-spotted moray- Gymnothorax tessellata ) พบตามเรือจม หรือกองหินกลางอันดามันเจอบ่อยที่หมู่เกาะจังหวัดระนอง ไม่ค่อยพบตามทะเลอื่น


ปลาไหลมอเรย์ นี้อาศัยอยู่ถิ่นไหนสามารถบอกได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ ของแนวปะการังได้เป็นอย่างดี เพราะว่ามันเป็นสัตว์จำพวกล่าเหยื่อ โดยเฉพาะกุ้งและปูเป็นอาหาร


ปลานกขุนทอง





  ปลานกขุนทอง

ชื่อสามัญ  Wrasses

ชื่อวิทยาศาสตร์  Labridae

ขนาดลำตัว  10-15 เซนติเมตร

 
ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาขุนทองเป็นปลาที่โดดเด่นตามแนวปะการัง ขนาดของปลาขุนทองตัวเต็มวัยอยู่ที่ระหว่าง 10-50 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับว่าเป็นปลาขุนทองชนิดอะไร เช่น ปลานกขุนทองหัวโหนก ( Napoleon wrasse ) เมื่อโตเต็มวัยอาจจะมีความยาวถึง 2 เมตรก็ได้


- ปลาพันธุ์นี้ไม่ค่อยอยู่รวมตัวกันเป็นฝูง นอกเสียจากว่าเป็นฤดูกาลผสมพันธุ์ื จะเห็นว่าปลานกขุนทองจับกลุ่มอยู่กันเป็นฝูง เหมือนฝูงปลาอื่นๆ เช่นกัน 


- อาหารโปรดของปลา ได้แก่ สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กตามพื้น แต่ปลานกขุนทองบางตัวก็กินปลาขนาดเล็กด้วย การดูเพศของปลาถ้ายังไม่โตเต็มวัยดูได้ยาก เพราะว่าปลาตัวเมียสามารถกลายเป็นปลาตัวผู้ที่มีสีสันสดใสได้ด้วย
 
 




ปลาขุนทองพยาบาล

ชื่อสามัญ  cleaner wrasse

ชื่อวิทยาศาสตร์  Labroides dimidiatus


ลักษณะโดยทั่วไป

- ลายของปลาขุนทองพันธุ์นี้ไม่ได้ซับซ้อนเหมือนปลาตัวอื่นๆ การสังเกตปลาพันธุ์นี้ดูได้จากเส้นแถบสีดำ จะคาดยาวจากปากของปลาจรดปลายหางของปลา สีพื้นบริเวณลำตัวจะพบได้หลากหลาย เช่น สีขาว สีน้ำเงินปนเหลือง สีขาวปนเหลือง เป็นต้น
 
 
 
 


ปลาขุนทองเขียวพระอินทร์

ชื่อสามัญ  Moon Wrasse

ชื่อวิทยาศาสตร์   Thalassoma lutescens

ลักษณะโดยทั่วไป

- ลักษณะของปลาก็สมกับชื่อเป็นอย่างมาก ปลาขุนทอง เขียวพระอินทร์ลำตัวจะเป็นสีเขียวขอบเส้นลำตัว, ลายบริเวณหน้า และหูเป็นสีชมพู

ปลาสร้อยนกเขา




ปลาสร้อยนกเขา ( สร้อยปากหมาลายตาข่าย )

ชื่อสามัญ  Sweetlip chaetodonoides

ชื่อวิทยาศาสตร์  Plectorhynchus chaetodonoides Lacepede


  • ลักษณะโดยทั่วไป
- ปลาพันธุ์นี้ ลำตัวค่อนข้างแบน ทางด้านช้างครีบหลังทั้งสองข้างตอนจะติดกัน ครีบหลังตอนหน้ามีก้านครีบอยู่ตรงกลาง ครีบตอนหลังเป็นครีบอ่อนรูปโค้ง ส่วนครีบตรงทวารเป็นรูปสามเหลี่ยม หากคลี่ออกมาแล้วจะมีลักษณะคล้ายรูปพัด ลำตัวมีสีขาวลายน้ำตาล






ปลาสร้อยนกเขา ( ตะเภาม้าลาย )

ชื่อสามัญ    Oriental Sweetlip

ชื่อวิทยาศาสตร์  Plectorhynchus orientalis ( Bloch )

ลักษณะโดยทั่วไป
- ลำตัวเรียว ด้านข้างคล้ายมีดอีโต้ หน้าผากเป็นรูปโค้งและตั้งฉากลงมายังปาก ครีบหลังสองตอนติดกันตอนหน้ามีก้านครีบแข็ง ส่วนตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบตรงทวารเป็นรูปไข่ หางลักษณะเป็นปลายตัด สีของปลาเมื่อยังเล็กอยู่นั้น ผิวจะมีสีดำ พอโตขึ้นลำตัวปลาจะเป็นสีขาว และสีดำของผิวปลาตอนเด็กก็จะกลาย มาเป็นลายบนตัวปลาคาดตามความยาวของปลาสลับกับพื้นที่สีขาว นี่แหละที่มาของปลาม้าลายจริงๆ



ปลาสร้อยนกเขา อาศัยอยู่ตามหน้าดิน หรือตามแนวปะการัง พบทั่วไปทั้งตามชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน


ปลานกแก้ว ทะเล


                                                         ปลานกแก้ว

ชื่อสามัญ   Parrotfishes

ชื่อวิทยาศาสตร์  Scarus sp.

ขนาดลำตัว  30 เซ็นติเมตร


  • ลักษณะโดยทั่วไป


- ปลานกแก้วเป็นปลาในสายพันธุ์  Scaridas ลักษณะเด่นของปลานกแก้วอยู่ที่หน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับนกแก้ว สาเหตุที่เป็นอย่างนั่นเพราะว่า ฟันของปลานกแก้วเป็นฟันที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นแผง แต่สามารถใช้งานได้ดี โดยเฉพาะเวลาที่มันต้องการใช้เพื่อขูดปะการังมากินอาหาร นอกจากกินปะการังยังกินสาหร่ายเป็นอาหารอีกด้วย



- ปลานกแก้วจะหากินตอนกลางวันเท่านั้น และหลับตอนกลางคืน การนอนของปลานกแก้วมีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจนั่นคือ " การพ่นใย " ปลา นกแก้วจะพ่นใยออกมารอบตัวในเวลานอน และปลานกแก้วจะนอนนิ่งอยู่ภายในใยเสมือนกับว่าใยนั้นเป็นมุ้งสำหรับนอนอย่าง ไรอย่างนั้น นอกจากการนอนที่แปลกแล้ว



- ปลานกแก้วเวลาว่ายน้ำก็มีกิริรยาแปลกไปจากปลาพันธุ์อื่นๆ คือมันจะกระพือครีบออกเป็นจังหวะคล้ายๆกับนกบินนั่นเอง




  • ปลานกแก้ว เป็นปลากลุ่มใกล้เคียงกับปลาขุนทอง ขนาดค่อนข้างใหญ่ นอกจากฟันที่เประสานรวมกันแล้ว ภายในลำคอมีฟันพิเศษที่สามารถบดหินปูนเข้าไปให้ผงละเอียดและขับถ่ายออกมาที หลัง จะพบรวมตัวกันเป็นฝูงขณะหาอาหาร โดยเคลื่อนขบวนพร้อมเพรียงกัน ทำให้ได้ยินเสียงฟันครูดไปตามพื้นอย่างชัดเจน โดยปลาตัวผู้จะมีสีสันโดษเด่นกว่าตัวเมีย สามารถเปลี่ยนเพศได้จากเพสเมียเป็นเพศผู้ ปล่อยไข่สู่มวลน้ำ ปลากลุ่มนี้เป็นปลาในแนวปะการังที่มีจำนวนชนิดมาก จะอาศัยอยู่ในระดับน้ำลึกเพียง 2-4 เมตร

ปลาขี้ตังเบ็ด





ปลาขี้ตังเบ็ด

ชื่อสามัญ    Tangs

ชื่อวิทยาศาสตร์   Surgeonfish

ขนาดลำตัว   10-15 เซนติเมตร


  • ลักษณะโดยทั่วไป
- เป็นปลาที่รูปทรงลำตัวรูปไข่แบนกว้าง หรือค่อนแบนกว้างหรือค่อนข้างยาว  ปลาพันธุ์นี้ถึงแม้ว่าจะเป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหารซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นปลา ที่ใจดี แต่ความจริงแล้วปลาพันธุ์นี้ก็มีพิษสงรอบตัวเหมือนกัน ปลาขี้ตังเบ็ดจะมีอาวุธร้ายซึ่งเป็นหนามแข็งที่บริเวณโคนหาง เวลาที่มันต้องเผชิญหน้ากับสิ่งอันตรายมันจะว่ายน้ำหนีได้เร็วมาก พร้อมทั้งกางหนามออกมาเพื่อเป็นอาวุธเพื่อป้องกันตัวเองด้วย การหากินของมันจะออกหากินตอนกลางวัน จะอาศัยอยู่เป็นกลุ่มกันเป็นฝูง แหล่งอาหารที่สำคัญของปลาคือ อาหารตามพื้น







                                                   ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า

                                           ชื่อสามัญ   powder blue tang

                                   ชื่อวิทยาศาสตร์   Acanthurus leucosternon

  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ลักษณะทั่วไปของปลาขี้ตังเบ็ดฟ้าบริเวณลำตัวจะมีสีฟ้าบางตัวเข้ม บางตัวอ่อน ครีบด้านบนของตัวปลาจะเป็นสีเหลือง ครีบด้านล่างจะเป็นสีขาว ริมขอบของครีบปลาจะมีสีขาวตัดเป็นแถบเล็กๆ ใบหน้าของปลาสีดำ และมีแถบสีขาวอยู่บริเวณรอบวงปากตัดกับสีดำของหน้าปลาอย่างสวยงาม หางของปลาเป็นแฉกบริเวณโคนหางมีสีเหลืองตอนกลางของหางมีสีขาวปลายหางจะเป็น สีน้ำเงินเข้มถึงดำ


 ปลาขี้ตังเบ็ดหัวเรียบ

ชื่อสามัญ   Naso tang, Orange-spine

ชื่อวิทยาศาสตร์   Naso lituratus, Unicornfish

  • ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาพันธุ์นี้จะมีบริเวณลำตัวที่เป็นสีเหลืองอ่อนๆ ความแปลกตาหรือจุดเด่นของสายพันธุ์คงอยู่ที่บริเวณใบหน้าและส่วนหัวของปลา จุดบนสุดของหัวปลาจะมีปานสีดำขนาดไม่ใหญ่มากอยู่ทางด้านบน ไล่ระดับลงมาเหนือดวงตามีสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นอยู่รอบดวงต(คล้ายๆ กับคนที่เขียนขอบตา) สีเหลืองนี้ยังถูกเขียนเป็นแนวเส้นไม่ใหญ่มากยาวลงบริเวณของปากปลาด้วย ปากปลาจะมีสีส้ม (เหมือนคนทาลิปสติก) หางมีลักษณะเป็นแฉกไม่ลึกมากเป็นสีขาวและมีสีดำตัดบริเวณริมเส้นของปลา ปลาขี้ตังเบ็ดหัวเรียบจัดว่าเป็นปลาที่มีหน้าตาแปลกและสวยงามอีกตัวหนึ่ง



ปลาขี้ตังเบ็ดเหลือง

ชื่อสามัญ   Yellow tang

ลักษณะโดยทั่วไป

-ปลาขี้ตังเบ็ดเหลืองคงคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็น อย่างดี ลักษณะเด่นจะมีสีเหลืองสดใสทั้งตัว ยกเว้นเพียงบริเวณตาเท่านั้นที่จะมีสีดำ แม้บริเวณตาขาวก็จะมีสีเหลืองไปด้วย


  • ปลาขี้ตังเบ็ดหรือปลาแทงค์ เป้นปลาที่พบได้ในมหาสมุทรทั่วไป มีจำนวนกว่า 78 ชนิดจากทั้งหมด 5 สกุล ปลาในกลุ่มนี้หากินตามแนวปะการังและชายฝั่งที่มีแสงแดดส่องถึง กินตะไคร่น้ำ และสาหร่ายชนิดต่างๆที่ขึ้นตามโขดหิน จะรวมตัวอยู่กันเป็นฝูง ปลาในกลุ่มนี้ ส่วนมากจะเลี้ยงได้ไม่ยากนัก และปรับตัวเข้าสภาพแวดล้อมในตู้ได้ค่อนข้างดี การให้อาหารตอนเลี้ยง ควรให้อาหารที่มีส่วนผสมของใบผักสีเขียวและสาหร่ายสีเขียว หรือให้ผักกาดหอมล้างสะอาดให้ปลาตอดกินบ้างเป็นครั้งเป็นคราว

ปลาสลิดหิน


ปลาสลิดหิน

 
 
ชื่อสามัญ  Damsels

ขนาดลำตัว  10-15 เซ็นติเมตร

  • ลักษณะโดยทั่วไป
-ปลาสลิดหินเป็นปลาในวงศ์ Pomacentridae ปลาชนิดนี้เป็นปลาขนาดเล็ก บางชนิดมีสีสันสดใส เช่นฟ้าเขียว สีเหลือง พบได้บางตัวมีลายเป็นบั้งๆ และมีอีกหลายตัวเช่นกันที่มีสีออกไปทางโทนน้ำตาลดำ ปลาสลิดชอบอาศัยอยู่เป็นฝูง บริเวณแนวปะการัง อาหารของปลาชนิดนี้ ได้แก่ แพลงก์ตอน, สาหร่าย, และสัตว์ขนาดเล็กตามพื้น ปลาสลิดหินมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดเช่น ปลาสลิดหิน, ปลาสลิดหินใบขนุน, ปลาสลิดหินทะเลเหลืองปากยาว เป็นต้น

-ปลาสลิดหิน จะใช้แนวปะการังและดอกไม้ทะเล เป็นแหล่งอาหารที่อยู่และหลบซ่อนอำพรางตัวด้วย


ปลาสลิดหินฟ้าหางเหลือง

ชื่อสามัญ   Yellow tailed damsel

ชื่อวิทยาศาสตร์   Chrysiptera hemicyancea

  • ลักษณะโดยทั่วไป
-ลักษณะของปลาตัวนี้ก็จะเหมือนชื่อแหละ ค่ะ ลำตัวจะเป็นสีฟ้า บางตัวสีจะเข้ม ออกไปทางสีน้ำเงินส่วนของหางจะเป็นเหลืองสด บางตัวส่วนสีเหลืองสด บางตัวส่วนสีเหลืองจะเริ่มตั้งแต่บริเวณท้องของปลายาวตลอดไป จนถึงครีบปลาจรดปลายหางซึ่งบริเวณหางจะเป็นสีเหลืองทั้งบริเวณ



ปลาสลิดหินบั้ง

ชื่อสามัญ  Sergeant major damsel

ชื่อวิทยาศาสตร์  Abudefduf saxatilis

  • ลักษณะโดยทั่วไป
-มองปลาตัวนี้แล้วหลายๆคนคงจะนึกถึง " ม้าลาย " เพราะลายของปลานั้นจะเป็นลายขาวดำสลับกัน พื้นลำตัวจะเป็นสีขาว และมีแถบเส้นสีดำคาดบริเวณลำตัวปลา หางเป็นลักษณะแฉกหางลูกศร หางเป็นสีน้ำเงินเข้มอมดำ จุดสังเกตพิเศษของปลาพันธุ์นี้ คือจะมีรอยปานสีเหลืองอยู่บริเวณด้านบนของตัวปลาตามแนวเส้นสันหลังของปลา ด้วย

ปลาในกลุ่มนี้ มักมีพฤติกรรมการสร้างอาณาเขตเฉพาะตัว หวงถิ่นอาศัย โดยเฉพาะในช่วงผสมพันธุ์และวางไข่ ส่วนใหญ่จะวางไข่เป็นแพยึดติดบนพื้นหิน หรือพื้นผิวปะการังตาย ปลาตัวผู้ทำหน้าที่เฝ้ารังจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว ในน่านน้ำไทยพบได้ไม่น้อยกว่า 65 ชนิด มีทั้งหมดด้วยกันกว่า 350 ชนิด ปลาสลิดหินนี้จะใช้แนวปะการังและดอกไม้ทะเล เป็นแหล่งอาหารที่อยู่และหลบซ่อนอำพรางตัวด้วย


ปลาวัว




                ปลาวัว


ชื่อสามัญ  Triggerfishes
ชื่อวิทยาศาสตร์  Balistodes conspicillum
ขนาดลำตัว  10-20 เซ็นติเมตร

ลักษณะโดยทั่วไป
  • ปลา วัวจะมีลำตัวที่กว้างแบนออกด้านข้าง ตำแหน่งของดวงตาจะอยู่เหนือหัวทางด้านบน ฟันมีขนาดใหญ่และแข็งแรงมาก ลักษณะจะค่อนข้างแข็งและขนาดใหญ่ เกล็ดจะเรียงติดกันเป็นแถวหุ้มอยู่ตลอดตัว 
  • อาหารของปลาวัว จะเป็นพวกสัตว์ที่มีเปลือกแข็ง เช่น ครัสเตเซี่ยนและหอย 
  • มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าวโดยเฉพาะฤดูวางไข่ ปลาวัวจะดุมากๆ
ปลาวัว มีด้วยกันหลายชนิดที่พบเห็น ได้แก่
ปลาวัวจมูกยาว
ชื่อสามัญ   Longnose Filefish
ชื่อวิทยาศาสตร์  Oxymonacanthus longirostris

ลักษณะโดยทั่วไป
  • ปลาวัวจมูกยาวมีลักษณะเด่นคือ " ความยาวของจมูก " ปลา วัวพันธุ์นี้จะมีจมูกที่ยื่นออกมา ลำตัวจะเป็นทรงรียาวๆกลมๆ มีปากยาว พื้นผิวของปลาจะเป็นสีเขียวมีลายจุดขนาดไม่ใหญ่มาก สีส้มบ้างเหลืองบ้างกระจายทั่วบริเวณลำตัวปลา
ปลาวัวหางพัด
ชื่อสามัญ  Scrawled leatgherjacket
ชื่อวิทยาศาสตร์  Aluterus scriptus

ลักษณะโดยทั่วไป
  • ปลาวัวหางพัดจะมีลายสีดำกระจายอยู่ทั่วตัวปลา ส่วนหางของปลาเมื่อคลี่ออกจะคล้ายๆพัด พื้นหลังของลำตัวจะออกไปทางสีขาวครีม หรือออกไปทางเหลืองอ่อนๆ
ปลาวัวลายส้ม
ชื่อสามัญ  Oranfestriped triggerfish, undulated trigger
ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Balistapus undulatus

ลักษณะโดยทั่วไป
  • ปลาวัวลายส้มมีลักษณะเด่นคือ บริเวณหางจะมีสีเหลือง พื้นผิวของตัวปลาจะออกไปทางสีเขียว ลำตัวพาดด้วยแถบเส้นสีเหลืองส้มซึ่งจะเป็นเส้นสีขนาดเล็กทั่วตัวปลา
  • ปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง และกองหินใต้น้ำฝั่งมหาสมุทรอินเดีย
ปลาวัวดำ
ชื่อสามัญ  Black trigger, niger trigger
ชื่อวิทยาศาสตร์  Odonus niger

ลักษณะโดยทั่วไป
  • ชื่อก็บอกว่าปลาวัวดำ จึงมีลักษณะเด่นที่ตัวพื้นผิวสีดำ ส่วนของหางปลาจะเป็นรูปเสี้ยว ปลาวัวดำนี้จะมีลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าปลาวัวชนิดอื่นเล็กน้อย
ปลาวัวไตตัน
ชื่อสามัญ  Titan triggerfish

ลักษณะโดยทั่วไป
  • ปลาวัวไตตัน เป็นปลาที่ค่อนข้างใหญ่ พื้นลำตัวของปลาจะมีสีเหลือง จุดเด่นของปลาไตตันคือ บริเวณลำตัวจะมีลายสีดำเหมือนลายสานเล็กๆอยู่ทั่วลำตัว ส่วนหน้าของปลาบริเวณใต้คางจะมีสีขาว บริเวณแก้มจะมีสีเหลือง ริมฝีปากบนจะมีสีดำ
                                                                                       

ปลาปักเป้า



                                                                                                ปลาปักเป้า


 ชื่อสามัญ Pufferfish and Boxfishes

ขนาดลำตัว 10-20 เซ็นติเมตร

  • ปลาปักเป้า หรือ Puffer Fish เป็นปลาที่หาได้ทั้งในน้ำจืด และน้ำเค็ม พบได้ทั่วไปในประเทศที่อากาศร้อนและอบอุ่น ในประเทสไทย พบปลาปักเป้าน้ำจืดได้ตามแหล่งน้ำต่างๆ เช่น ตามคลอง บึงและแม่น้ำ 
  • ปักเป้าน้ำจืดที่พบเห็นได้แก่ ปลาปักเป้าเขียว ปลาปักเป้าเหลือง ปลาปักเป้าทอง ส่วนปลาปักเป้าทะเลพบในอ่าวไทย ได้แก่ ปักเป้าหนามทุเรียน ปักเป้าหลังแดง ปักเป้าหลังแก้ว ปักเป้าดาว เป็นต้น

ลักษณะโดยทั่วไป

ปลาปักเป้าเป็นปลาที่มีรูปร่างพิเศษประกอบด้วย 3 ชนิดวงศ์ปลาด้วยกัน คือ
1. ปลาปักเป้ากล่อง Box Fish จะอยู่ในวงศ์ Ostraciidas

2. ปลาปักเป้าธรรมดา Puffers จะอยู่ในวงศ์ Tetraodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 4 ซี่ ซึ่งปลาในวงนี้มีลักษณะลำตัวแบนข้าง

3. ปลาปักเป้าหนามทุเรียน Porcupinefishes จะอยู่ในวงศ์ Diodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 2 ซี่ เป็นปลาปักเป้าชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ปลาปักเป้าทะเล พบหลายชนิด ได้แก่

  • ปลาปักเป้าหน้าหมา (Dogfaced puffer fish) มี ลักษณะบ่งบอกตามชื่อ เป็นปลาปักเป้าที่มีหน้าละม้ายไปทางหมา สีผิวบริเวณลำตัวจะมีสีขาว บางตัวจะออกไปทางเหลืองจุดดำๆ กระจายอย่างบางๆบริเวณลำตัว ที่หูจะมีครีบขนาดเล็กสีดำบ้าง เหลืองบ้างไม่แน่นแน ดวงตากลมสีดำ เมื่อพองตัวจะเห็นชัดเหมือนจมูกยื่นออกมาเหมือนหมา จึงเรียกว่า ปลาปักเป้าหน้าหมา
  • ปลาปักเป้ากล่องลายจุดหรือจุดเหลือง (Spotted yellow boxfish) เป็นปลาปักเป้าพันธุ์นี้สีผิวจะเป็นสีเหลืองตามลำตัวจะมีจุดสีดำกระจายอยู่ทั่วบริเวณตัวปลา สีเหลืองของปลาเป็นสีที่สดใสสวยงามมาก
  • ปลาปักเป้าเหลือง (Yellow Boxfish) ปลาปักเป้าเหลืองหากไม่สังเกตุให้ดีหลายๆคนจะคิดว่าเป็นปักเป้ากล่อง ซึ่งมีข้อแตกต่างทั้ง 2ชนิดคือ ปักเป้าเหลืองเวลาพองตัวจะไม่มีเหลื่อมที่เป็นกล่องเหมือนปักเป้ากล่อง สีพื้นของปักเป้าจะเป็นสีเหลือง จะมีจุดน้ำตาลหรือดำไม่มากนัก ปากค่อนข้างเล็ก สีของดดวงตาขาวจะออกไปทางส้มเหลือง เมื่อพองตัวจะเห็นได้ชัดว่าด้านข้างของตัวปลาจะมีรอยหยัก
  • ปลาปักเป้าจุดขาว (Whiteespotted puffer) ลักษณะโดยทั่วไปสีพื้นบริเวณผิวหนังของปลาจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ โดยมีจุดสีขาวให้เห็นทั่วลำตัวของปลา บริเวณท้องของปลาจะเป็นสีขาวดดยมากจะไม่พบจุดหรือลายใดๆ
  • ปลาปักเป้าหนามทุเรียน (Porcupine Puffer) เป็น ปลาปักเป้าที่คุ้นตากันมากที่สุด เพราะบริเวณผิวหนังของปลาปักเป้าหนามทุเรียนจะมีหนามอยู่ทั่ว เวลามันต้องการป้องกันตัว หรือต่อสู้กับศัตรูมันจะพองตัวและใช้หนามแหลมๆเหล่านี้เป็นอาวุธได้เป็น อย่างดี
ลักษณะของปลาปักเป้า
  • จะมีลำตัวค่อนข้างกลมเว้นแต่ปลาปักเป้ากล่องเท่านั้น ที่มีลำตัวเป็นทรงสี่เหลี่ยม
  • จะมีเกล็ดที่แข็งแรงหุ้มตลอดลำตัว
  • ลักษณะเกล็ดของปลาปักเป้ากล่อง จะเป็นแผ่นรูปหกเหลี่ยมเรียงต่อกัน 
  • สำหรับเกล็ดของปลาปักเป้าธรรมดา จะเป็นลักษณะแผ่นหน้าสั้นๆ
  • ปลาปักเป้าหนามทุเรียน ลักษณะพิเศษจะเป็นหนามยาวแหลมออกมา
อาหารของปลาปักเป้า ได้แก่ พวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังตามพื้น เช่น ฟองน้ำดาว เปราะหอย เม่น

  • ปลาปักเป้าทุกชนิด เป็นปลาที่มีพิษในตัว โดย เฉพาะอวัยวะภายในและรังไข่ แม้เราบริโภคเพียงเล็กน้อยอาจถึงแก่ความตายได้ แต่บางชนิดในบางแล้งน้ำก็มีคนจับมาบริโภค โดยจะต้องรู้วิธีการชำแหละเป็นพิเศษ เช่น ประเทศญี่ปุ่น นิยมบริโภคปลาปักเป้า โดยทำเป็นปลาดิบ (Sushi)