วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

การเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยง


 



 


การเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยง มีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้

ชนิดของปลาสวยงาม

- ความสวยงามของปลา

- ความหลากหลายของสายพันธุ์ปลา

- ปัจจัยในการเลี้ยง



นิสัยของปลาสวยงาม นิสัยการกินอาหารของปลา จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ คือ

- ประเภทปลากินพืช ( Herbivorous Fishes )

- ประเภทปลากินเนื้อ ( Carnivorous Fishes ) แบ่งตามลักษณะการกินแต่ละประเภท ดังนี้


1. ปลาล่าเนื้อ  ( Piscivores or Predator )

2. ปลาแทะซาก  ( Scavenger )

3. ปลากินแมลงและตัวอ่อนแมลง  ( Insectivores )

4. ปลากินแพลงก์ตอน ( Plankton Feeder ) 


- ประเภทปลาที่กินทั้งพืชและเนื้อ ( Omnivorous Fishes )



ลักษณะนิสัยและการอยู่ร่วมกันของปลา แบ่งออกเป็น

- ปลาสังคม

- ปลาสันโดษ



 ความอดทนของปลาแต่ละชนิดมี ข้อแตกต่างกันดังนี้

- อดทนต่อพื้นที่จำักัด

- อดทนต่อการเกิดโรค เป็นต้น

โรคปลา รักษาได้



โรคเห็บปลา

  • เป็นปรสิตภายนอก เห็บปลามีขนาดประมาณ 5-10 มิลลิเมตร สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
ลักษณะทางชีวภาพของเห็บปลา
  • ลำตัวมีสีเขียวปนเหลือง หรือน้ำตาล ตัวกลมแบน
  • ด้านหลังโค้งมน ลำตัวเป็นปล้องเชื่อมติดกัน
  • ส่วนของปากจะเป็นอวัยวะสำหรับดูดเกาะ มีตารวม 2 ตา แต่ระหว่างตารวมมีตาเดี่ยวคั่นระหว่างกลาง
  • ระหว่างตาทั้ง 3 จะมีวงขนาดใหญ่ ทำน้าที่เป็นอวัยวะสหรับเกาะตัวปลา
  • มีปากอยู่หลังวง
  • ท่อทางเดินอาหารสั้น
  • มีขา 6 คู่ คู่ที่ 1-4 จะเห็นชัดเจน ขาคู่ที่ 5 และ 6 จะมองไม่ชัด
  • ส่วนหางยื่นออกมาแบ่งเป็น 2 แฉก
  • อวัยวะสืบพันธุ์อยู่ที่บริเวณหาง ตัวผู้มีอัณฑะใหญ่ 2 อัน ส่วนตัวเมียมีอวัยวะสำหรับรับน้ำเชื้อ 1 คู่ รังไข่อยู่บริเวณกลางลำตัว
วงจรชีวิตของเห็บปลา

  • ไข่ที่ได้รับการผสมพันธู์แล้วจะอยูในท่อนำไข่บริเวณกลางลำตัว
  • เห็บปลาจะวางไข่บนก้อนหิน หรือวัตถุแข็งๆในน้ำ ซึ่งไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 9-15 วันตัวอ่อนว่ายน้ำเป็นอิสระประมาณ 20-24 ชม.แล้วจะเข้าเกาะปลา ถ้าไม่สามารถเกาะปลาภายใน 24 ชม.จะตาย เมื่อเกาะปลาแล้ว 3-5 วันจะลอกคราบครั้งแรก ลอกคราบ 6 ครั้งถึงจะโตเต็มวัย
  • ตัวเมียวางไข่แล้วจะตาย
ลักษณะอาการของโรค
  • บริเวณที่ถูกเห็บปลาเกาะจะเป็นแผล ทำให้ตกเลือดบริเวณผิวหนังทั่วไปเห็บปลา ส่วนใหญ่จะเกาะอยู่ตามผิว เหงือก หัว ครีบของปลา กินเซลผิวหนังเป็นอาหาร สามารถย้ายตำแหน่งการเกาะได้ ทำให้ผิวปลาเป็นแผล มักจะเกิดกับปลาที่มีเกล็ด เช่นปลาช่อน ปลาแรด ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน เป็นต้น ปลาที่ติดโรคนี้เป็นเวลานาน ปลาจะว่ายน้ำอย่างกระวนกระวาย โดยถูกับวัสดุ หรือผนังตู้ เห็บปลาที่พบในประเทศไทย ได้แก่ Argulus
การป้องกันและรักษา

  • แยกปลาที่ตาย หรือปลาที่มีเห็บติดออกจากบ่อ พร้อมทั้งแยกปลาจากที่เลี้ยงเดิม เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเห็บปลาติดมาด้วย
  • กำจัดเห็บปลาด้วยการคีบออก ถ้าเห็บเกาะแน่นให้หยดน้ำเกลือเข้มข้น 1-2 หยดลงบนตัวแล้วคีบออก
  • แช่นำยาดิพเพอร์เร็กซ์ 24 ชม. ในอัตราส่วน 0.5-0.75 กรัมต่อน้ำ 1000 ลิตร
  • แช่ปลาในด่างทับทิม นานประมาณ 15-30 นาที แล้วจึงย้ายปลาไปไว้ที่สะอาด
  • ปลาที่เลี้ยงในบ่อ ให้ตากบ่อให้แห้งแล้วโรยปูนขาวให้ทั่ว

การสืบพันธุ์ปลา




  วิธีสืบพันธุ์ปลา แบ่งได้ออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
 
1. แบบแยกเพศ เป็นการผสมพันธุ์โดยที่ปลาเพสผู้จะเป็นฝ่ายผลิตน้ำเชื้อ และฝ่ายเพศเมียจะเป็นฝ่ายผลิตไข่ แล้วนำมาผสมกันเมื่อถึงเวลาที่สมควรหรือในฤดูวางไข่


2. แบบกระเทย เป็นการผสมพันธุ์ที่ไม่ สามรถเพิ่มผลผลิตในตัวเองได้ จึงไม่ค่อยถูกนำมาใช้สืบพันธุ์กันเท่าไร ลักษณะการสืบพันธุ์ ปลาแบบนี้ก็คือการใช้ปลาประเภท 2 เพศ ในตัวเดียว ที่ในช่วงแรกนั้นจะเป็นเพศผู้แล้วต่อมาก็จะเปลี่ยนเป็นเพศเมีย


3. แบบไม่ได้รับการผสม เป็นการสืบ พันธุ์ปลาโดยใช้เชื้อจาก ตัวผู้ในการกระตุ้นให้ไข่สุกเท่านั้น ฉะนั้นในปลาประเภทเดียวกันจึงไม่สามารถใช้ปลาเพศผู้สืบพันธุ์ได้


  • ขั้นตอนแรกของการเริ่มเพาะพันธุ์ปลาตู้ ควรแยกแยะเพศของปลาออกจากกันให้ถูกต้องเสียก่อน เพราะไม่เช่นนั้น แล้วการเพาะพันธุ์ปลาจะไม่ได้ผลเลย การแยกเพศของปลาโดยทั่วไปก็นิยมใช้วิธีการสังเกตลักษณะภายนอกของตัวปลาตาม ลักษณะรูปร่างของปลา

ขนนกทะเล






ขนนกทะเล ( Sea Feather )
  • ขนนกทะเล เป็นสัตว์ทะเลที่มีลักษณะคล้ายพืช และมีอยู่หลายชนิด แต่ละตัวมีรูปร่างเป็นโพลิปขนาดเล็ก แต่อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือโคโลนี มักพบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังเกาะกับหลักที่ปักอยู่ตามชายฝั่งเสาสะพานท่า เรือ ตลอดจนวัสดุที่ลอยอยู่ในทะเล บางชนิดมีลักษณะคล้ายขนนกมาก และบางชนิดคล้ายเฟิร์น เมื่อผิวหนังเราสัมผัสกับโคโลนีของขนนกทะเล โพลิปจะปล่อยนีมาโตซีส ( nematocyst ) ที่มีน้ำพิษแทรกเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน

  • ขนาดของขนนกทะเลความแตกต่างกัน ส่วนใหญ่โคโลนี่ที่คล้ายกิ่งไม้ หรือแตกแขนงคล้ายขนนก  มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร  บางชนิดอาจมีโคโลนีขนาดสูงถึง 1เมตร

การป้องกันรักษา


ล้างบริเวณที่ถูกพิษด้วย แอลกอฮอล์ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำเย็น หากอาการรุนแรงมาก ต้องส่งแพทย์ทันทีดังนั้นจึงเลี่ยงการสัมผัสขนนกทะเลโดยตรงและใส่เสื้อผ้า ป้องกันอันตราย

ฟองน้ำ







ฟองน้ำ ( Sponge )

  • ฟองน้ำเป็นสัตว์ที่เกาะอยู่นิ่งอยู่ กับที่ มีลำตัวเป็นรูพรุนเล็กๆเต็มไปหมด รูพรุนเหล่านี้จะเป็นทางผ่านของน้ำ  ซึ่งเป็นการนำออกซิเจนและอาหารเข้าสู่ตัวฟองน้ำ ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยอาศัยระบบท่อน้ำไหลผ่านลำตัว มีโครงค้ำจุนร่างกายเป็นหนามที่เรียกว่า สปิคุล ( spicule ) หรือเส้นใยอ่อนนุ่ม ( spongin )

  • ลักษณะเนื้อเยื่อขาดการประสานงานระหว่าง เซลล์ จึงยังไม่เป็นเนื้อเยื่อที่แท้จริง ฟองน้ำเป็นสัตว์กึ่งกลางระหว่างเซลล์เดียว และสัตว์หลายเซลล์ชนิดที่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะรับความรู้สึกและระบบประสาท

  • ฟองน้ำทะเล พบได้ในทะเลทุกแห่ง และทุกระดับความลึก บางชนิดอยู่ในน้ำกร่อย ตัวแก่จะเกาะอยู่กับสิ่งต่างๆตามชายฝั่งทะเล บางชนิดอยู่ตามท้องทะเลที่มีโคลนทราย รูปร่างของฟองน้ำมักจะเหมือนกับสิ่งที่เกาะอยู่ ดังนั้นฟองน้ำชนิดเดียวกันจึงมีรูปร่างที่แตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม

  • ฟองน้ำมีความสามารถสูงในการงอกใหม่ เพื่อสร้างส่วนที่เกิดบาดแผล หรือขาดหายไป แต่ถ้าฟองน้ำถูกตัดเป็นชิ้นเล็กๆ หรือถ้าแยกเซลล์ในฟองน้ำออกกันหมด แล้วปล่อยทิ้งไว้จะเกิดการรวมกลุ่มเป็นเซลล์กลุ่มเล็กๆ ซึ่งชิ้นของฟองน้ำแต่ละชิ้น และกลุ่มเซลล์แต่ละกลุ่มสามารถเจริญขึ้นมาเป็นฟองน้ำใหม่ได้

  • ฟองน้ำบางชนิดมีขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ตามแนวปะการังอาจมีผิวขุรขระ อันเนื่องมาจากสปิคุลยื่ยออกมาบริเวณผิว หากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ สัมผัสกับฟองน้ำอาจทำให้เกิดรอยผื่นแดงบวม และมีอาการคันได้


การป้องกันรักษา


- หลีกเลี่ยงจากการสัมผัสฟองน้ำขนาดใหญ่ตามแนวปะการัง เช่น ฟองน้ำครก แต่หากเป็นความบังเอิญที่ไม่ได้ระวังตัว  การปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือ การทำให้สปิคุลของฟองน้ำหลุดออก โดยการล้างแผลบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำส้ม ( กรดน้ำส้ม 5 เปอร์เซนต์ ) เป็นเวลา 15  - 30 นาที หรือใช้ยาทาจำพวกแอนตีฮีสตามีน ทาบรรเทาอาการผื่นคัน

ม้าน้ำ



ม้าน้ำ  ( Seahorse )

 
 
ชื่อวิทยาศาสตร์         Hippocampus kuda Bleeker

ตระกูล                    SYNGNATHIDAE 

ลักษณะโดยทั่วไป
- ม้าน้ำ เป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน คือ มีกระดูกหรือก้างมาห่อหุ้มเป็นเกราะอยู่ภายนอกตัวแทนเกล็ด

- ส่วนหัวจะมีลักษณะเหมือนม้าที่มีปากยื่นออกเป็นท่อ ไม่มีกราม ตรงปลายมีที่เปิดใช้สำหรับดูดกินอาหาร  ลำตัวปกคลุมด้วยเปลือกแข็ง

- ส่วนหาง แทนที่จะเป็นครีบสำหรับว่ายน้ำเหมือนปลาชนิดอื่น กลับมีหางยาวเหมือนสัตว์เลื้อยคลาน มีไว้เพียงเพื่อเกี่ยวยึดตัวเองกับพืชน้ำ หรือปะการังในน้ำ

- มีครีบอก และครีบบางใส ตรงเอวอีกครีบหนึ่งโบกพัดกระพือ โดยครีบทั้ง 2 นี้ จะโบกพัดด้วยความเร็วประมาณ 20 -30 ครั้งต่อวินาที  ทำให้เคลื่อนไหวไปมาได้อย่างช้าๆ 

- ปกติม้าน้ำมักจะว่ายน้ำเป็นในลักษณะขึ้น - ลง มากกว่าไปข้างหน้า - ข้างหลัง เหมือนปลาชนิดอื่น

- ความยาวโดยเฉลี่ยเมื่อเหยียดตรงจะยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร แล้วแต่ชนิด 

- พื้นลำตัวมีสีดำ หรือสีเหลือง หรือสีม่วง และสีเหลืองหรือม่วงสามารถเปลี่ยนสีได้ 

- ตัวผู้จะมีลักษณะที่ต่างจากตัวเมีย คือมีถุงหน้าท้อง ( brood pouch ) สำหรับฟักไข่เป็นตัวและทำหน้าที่คลอดลูกแทนตัวเมีย
 

แหล่งที่อยู่อาศัย

- ม้าน้ำอาศัยอยู่ตามเสาโป๊ะหลักหอยแมลงภู่ หรือตามดงสาหร่าย  และบริเวณชายฝั่งทะเล


อาหาร

- จำพวกแพลงก์ตอน และสัตว์น้ำ ขนาดเล็กๆ


เหมือนจิงโจ้ และจะอุ้มท้องนานประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ตัวเมียจะคอยวนเวียนอยู่ใกล้ๆ จนกว่าตัวผู้จะฝักลูกออกมาเป็นตัว และจะอยู่ด้วยกันตลอด จนกว่าตัวใดตัวหนึ่งจะตาย ตัวที่เหลือถึงจะไปจับคู่ใหม่แต่ใช้เวลานานพอสมควร

ปลาผีเสื้อ





ปลาผีเสื้อ  ( Butterflyfish)

 
 
ชื่อวิทยาศาสตร์     Chaetodon lunulatus

วงศ์ตระกูล           Chaetodontidae พบประมาณ 120 ชนิดทั่วโลก ในเมืองไทย พบไม่ต่ำกว่า 25 ชนิด
แหล่งพบ             ในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน

 
ลักษณะโดยทั่วไป

- ปลาผีเสื้อมีลำตัวสั้น แลนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด

- ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้า และก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง

- ปลาผีเสื้อมีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้าๆ ไม่ว่องไวเหมือนปลาอื่นๆ

- เป็นปลาที่หากินเวลากลางวัน เมื่อพลบค่ำจะหลบเข้าไปหาที่หลับนอนตามซอกหิน หรือโพรงปะการัง ในเวลากลางคืนปลาผีเสื้อจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นโดยจะเป็นแต้มสีน้ำตาล หรือแถบสีเทาก็เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายและสัตรู

- ปลาผีเสื้อ กินปะการังเป็นอาหาร จึงเป็นสัตวืที่มีความเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการัง นักวิทยาศาสตร์ใช้ปลาผีเสื้อ เป็นเกณฑ์กำหนดความสมบูรณ์ของแนวปะการัง