วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลาเสือตอ



                                                                              ปลาเสือตอ




ชื่อ สามัญ Siam Tiger Fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ Coius Microlepis

ปลาเสือตอ พบปลาชนิดนี้ได้ทั่วไปทางประเทศทางแถบร้อน เช่น ไทย อินโดนีเซีย พม่า เขมร ถ้าในประเทศไทยเราพบมากในบึงบอระเพ็ด แม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง, แม่น้ำน่าน และแถบอิสาน แม่น้ำโขง, แม่น้ำชี, แม่น้ำมูล

ลักษณะทั่วไป
  • มี รูปร่างลำตัวที่เล็กแบนข้าง
  • ส่วนที่เป็นหน้าผากขาวลาด
  • ปากกว้าง และยืดหดได้
  • ครีบหลังยาว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นหนามแข็ง 12 อัน ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อน และครีบล่างส่วนแรกเป็นหนามแข็งขนาดใหญ่ลดหลั่นกัน 3 อัน ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อนเป็นแผ่นใสขอบกลม
  • หางเป็นรูปมนมีเกล็ดขนาดเล็กมีหนาม
  • ลำตัวสีครีมออกชมพูและสีเหลืองสดใส มีแถบดำใหญ่พาดขวางลำตัวประมาณ 6 แถบ ขนาดความยาวโตเต็มที่ยาว 16 นิ้ว หนักถึง 7 ก.ก
ลักษณะนิสัย

  • เป็นปลาอยู่เป็นฝูงเล็กๆใต้น้ำ โดยอาศัยใกล้ตอไม้ หรือโพรงหินด้วยการลอยตัวอยู่นิ่งๆ หัวทิ่มลงเล็กน้อย หากินตอนกลางคืน อาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กและแมลงต่างๆ ชอบอยู่ตามแหล่งไม้จึงได้ชื่อว่า ปลาเสือตอ
  • สายพันธุ์ ปลาเสือตอในประเทศไทยที่นิยมมีอยู่ 3 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์เสือตอน้ำจืด 2 สายพันธุ์และเสือตอน้ำกร่อยอีก1 สายพันธุ์
ปลาเสือตอที่นิยมและมีราคาสูงที่สุด คือ ปลาเสือตอลายใหญ่ และเสือตอลายคู่ (ลาย 7 ขีด) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดต้องนำเข้าจากประเทศเขมร

การเลี้ยงปลาเสือตอ

  • ปลาเสือตอในแหล่งน้ำธรรมชาติจะกินอาหารประเภทสัตว์น้ำทุกชนิด เช่นกุ้งฝอยและลูกปลา ส่วนปลาเสือตอในตู้กระจกสามารถฝึกให้กินเหยื่อชนิดอื่นได้ เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา กุ้งและหนอนแดง
  • ปลาเสือตอ สามารถวางไข่ได้โดยวิธีธรรมชาติ ประมาณเดือนมีนาคม พฤษภาคม ปลาเสือตอเพศผู้จะมีขนาดโตเต็มวัยเมื่อน้ำหนักประมาณ 300-400 กรัม ส่วนเพศเมียขนาดประมาณ 800 กรัมจะได้วัยเจริญพันธุ์ ไข่ปลาเสือตอเป็นไข่ประเภทลอยน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 14-17 ชัวโมง อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียล อาหารที่เหมาะกับลูกปลาเสือตอวัยอ่อน ได้แก่ โรติเฟอร์ในระยะ 3-10 วันแรก ต่อจากนั้นใช้ไรแดงเลี้ยงจนลูกปลาขนาดถึง 3ซม. เมื่อโตขึ้นนั้นจึงใช้หนอนแดงหรือลูกปลาเล็กเป็นอาหารต่อไป

โรคและปัญหาของปลาเสือตอ มักจะเกิดจากปรสิตที่ติดมากับปลาเสือตอในธรรมชาติที่พบประจำ คือ

-ฝีตามตัว มีลัษณะเป็นตุ่มตามตัว หรือส่วนทวารขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นตุ่มบวมปูดออกจากผิวหนัง รักษาโดย ให้แยกปลาที่ป่วยออกมา ใช้ยาปฏิชีวนะ ผสมน้ำ 1 ช้อนโต๊ะต่อ 1 แคปซูล ราดบนตัวกุ้งฝอยเป็นๆ แล้วเทให้ปลากินวันละ 2-3 ครั้ง

-โรคอิ๊ก หรือจุดขาว ให้ใช้ยาซุปเปอร์อิ๊กที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป แช่ปลาตามอัตราส่วนที่กำหนด สีของปลาเสือตอจะแสดงถึงความสมบูรณ์ของปลา หากไม่สบายหรือป่วยสีของปลาจะแสดงให้เห็น ถ้าตกใจหรือป่วยจะออกสีดำ ครีบหุบ

ถ้าลักษณะที่สมบูรณ์ ครีบจะกางสีออกเหลืองสดใส ลายดำออกซีด ครีบกางตั้งทั้งปลาขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น