วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปลานีออน



                                                                         ปลานีออน



ชื่ออังกฤษ  Neon tetra

ตระกูล  Characidae


รูปร่างลักษณะ


- เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ซึ่งถ้าโตเต็มที่ประมาณ 4.5 เซนติเมตร

- มีลำตัวยาวและแบนข้าง คล้ายเมล็ดข้าวสาร

- มีครีบบางใส ยาวพอประมาณ 7 ครีบ


-ลำตัวมีเกล็ดขนาดเล็กมันวาวปกคลุมทั้งตัว


- แผ่นหลังมีสีเขียวคล้ำ มีแถบสีฟ้าคาดข้างลำตัวจากส่วนหัวถึงโคนหาง เห็นเป็นสีสะท้อนแสง

- บริเวณใต้ท้องมีแถบสีแดงคาดอยู่เช่นกัน ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่และท้องอูมเป่งกว่าตัวผู้ และมีสีเงินซีดจางกว่าปลาตัวผู้




อุปนิสัย

- เป็นปลาที่รักสงบอยู่ร่วมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่ตกใจง่ายและเคลื่อนไหวตลอดเวลา

การเลี้ยงดู


- ควรเลี้ยงเป็นฝูงใหญ่ ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ที่มีความก้าวร้าวเพราะอาจถูกทำร้ายได้ และควรสร้างธรรมชาติใต้น้ำด้วยพรรณไม้น้ำสวยงาม จะทำให้ปลานีออนสดชื่น แข็งแรงและมีชีวิตยืนยาว

อาหาร


- ปลานีออน สามารถกินอาหารได้ทุกชนิด โดยเฉพาะชอบกินไรแดง


ปลานีออนเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาพันธุ์อื่นที่มีขนาดไล่เลี่ยกันได้ แต่ปลานีออนเป็นปลาที่ขี้ตื่น ชอบกระโดดดังนั้นถ้าเลี้ยงในตู้ควรมีฝาปิดมิดชิด กันปลากระโดดออกมานอกตู้ ถ้าที่ดีนั้นควรหาที่ซ่อนเวลาปลานีออนตกใจ เช่น ขอนไม้ ก้อนหิน หรือพรรณไม้ต่างๆ




ปลาหมอสี เพอร์ซี่


ปลาหมอเพอร์ซี่




ชื่อวิทยาศาสตร์   Herlchthys Pearsel

แหล่งกำเนิด  อยู่ทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก และทางตอนเหนือของประเทศกัวเตมาลา ในลุ่มแม่น้ำอุซุมาซินต้า และแม่น้ำ ตูลิจา



ลักษณะโดยทั่วไป

- Pearsei เป็นปลาตัวหนึ่งที่อยู่ในกลุ่ม Genus Herichtys  มีลักษณะกว้างลึก ช่วงลำตัวจะมีสีเหลืองสว่างสดใสเหมือนผิวมะนาว แตกต่างจากช่วงท้อง ซึ่งจะออกเป็นสีน้ำตาลเข้มจัด เกล็ดในบริเวณช่วงท้องหรือบริเวณพุงปลา ตามแนวขอบจะเป็นเส้นสีดำตัดชัดเจน และมีแถบสีเหลืองแวววาวเล็กน้อย ส่วนโครงสร้างของเกล็ดจะโค้งมนเป็นครึ่งวงกลม บริเวณครีบอกจะมีจุดเล็กๆกระจายอยู่เล็กน้อย บริเวณครีบชายน้ำบนล่างจะมีสีออกไปทางเทาดำ และมีสีฟ้าแซมอยู่ตามชายน้ำ

การจับคู่ผสมพันธุ์


- การเข้าคู่ค่อนข้างยาก กัดกันรุนแรงถึงขั้นตาย แต่ถ้าเป็นสายพันธุ์อื่นจะไม่กัดมาก ส่วนใหญ่การเพาะปลาหมอตัวนี้จะติดลูกยาก สาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากการผิดน้ำ

  • การวางไข่

- วางไข่กับพื้นแข็ง เฝ้าไข่และดูแลลูกอ่อน

อาหาร

- Pearsei เป็นปลากินพืช อาหารส่วนใหญ่ที่แนะนำ คือ เมล็ดสาหร่ายสไปรูลิน่า 10% หนอนนก หรือหนอนแดง ส่วนกุ้งฝอยก็สามารถให้กินได้เหมือนกัน แต่ดูเจ้า Pearsei จะโปรดปรานหนอนนกมากที่สุด

การเลี้ยง Pearsei


- Pearsai  เป็นปลาหมอที่มีขนาดใหญ่มาก มีขนาดโตเต็มที่ 40 cm. ตู้ที่เลี้ยงควรมีขนาดตั้งแต่ 48 นิ้วหรือ 350 ลิตรขึ้นไป ค่าph ก็อยู่ที่ 7.0-7.8 อุณหภูมิอยู่ที่ 26-30 องศา ส่วนแหล่งที่อยู่อาศัยนั้นเจ้า Pearsei ก็จัดเป็นปลาหมออีกตัวหนึ่งที่ชอบอาศัยอยู่ตามขอนไม้ และบริเวณที่มีพันธุ์ไม้น้ำอุดมสมบูรณ์




ปลาเทวดา

 

 

                                                           ปลาเทวดา



ชื่อสามัญ  Pterophyllum

แหล่งพบ ในลุ่มแม่น้ำอเมซอน และ แม่น้ำโิอริโนโค ในทวีปอเมริกาและลุ่มแม่น้ำใกล้เคียง

  • รูปร่างลักษณะ 
- เป็นปลาแบนข้าง ลำตัวกว้างเล็ก ครีบหลังเป็นกระโดงสูงอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบด้านท้องก็ทำนองเดียวกัน คีบหางแบนเป็นแพนใหญ่ รูปทรงเป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก ริมฝีปากค่อนข้างเล็ก ดวงตากลมโต ปลาเทวดามีหลายสี ตามสายพรรณแตกต่างกันออกไป เช่น เทวดาดำ เทวดาหินอ่อน เทวดาขาว เป็นต้น

  • อุปนิสัย
- ปลาเทวดาเป็นปลาที่แปลก บางครั้งก็รักสงบ ชอบอยู่นิ่งๆไม่ตื่นตกใจง่าย แต่ในทางตรงกันข้าม บางครั้งมีนิสัยก้าวร้าว หวาดระแวงขี้ตื่นตกใจ

  • การเลี้ยงดู
- โดยทั่วไปปลาเทวดาเป็นปลาที่รักสงบ พอจะปล่อยเลี้ยงรวมกันหลายๆตัวได้ และควรมีพรรณไม้เป็นที่หลบอาศัยบ้าง

  • อาหาร
- สำหรับอาหารที่ให้ได้แก่ ไรน้ำ ลูกน้ำ เนื้อกุ้งสับ และอาหารเม็ดสำเร็จรูป เป็นต้น

  • การขยายพันธุ์ 
- สามารถทำได้ในตู้เลี้ยง โดยวางไข่ติดกับวัตถุใต้น้ำที่มีลักษณะค่อนข้างมั่นคงแข็งแรง การวางไข่แต่ละครั้งประมาณ 300-1000 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 36 ชั่วโมง ปลาพร้อมที่จะผสมพันธุ์และวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 8-10 เดือนขึ้นไป



ปลาอะโรวาน่าออสเตรเลีย



  • อะโรวาน่าออสเตรเลีย ( Saratogas )
           ปลาอะโรวาน่าที่พบในทวีปนี้ มีด้วยกัน 2 ชนิด พบที่ออสเตรเลียเหนือ มีชื่อว่า Nothern Saratogas  และพบที่ออสเตรตะวันออก ชื่อว่า Spotted Saratogas ครั้งหนึ่ง อะโรวาน่าออสเตรเลีย ในบ้านเราเคยมีราคาแพงกว่า อะโรวาน่าทองและแดง เนื่องจากรัฐบาลออสเตรเลีย มีกฏหมายคุ้มครอง ปลาชนิดนี้อย่างเคร่งครัด จนกระทั่งมีการค้นพบ อะโรวาน่าออสเตรเลีย ในแถบ ปาปัวนิวกินี ประเทศอินโดนีเซีย จึงทำให้ราคาของปลาอะโรวาน่าออสเตรเลีย ตกลงมา

  • อะโรวาน่าออสเตรเลียเหนือ  ( Northern Saratoga )
             - Scleropages jardini พบในทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และหมู่เกาะนิวกีนี ในประเทศอินโดนีเซีย ในปัจจุบัน อะโรวาน่าชนิดนี้มีขายในบ้านเราอย่างแพร่หลาย ราคาไม่แพงเกินไขว่คว้า อาจจะสูงกว่าราคาสีเงินนิดนึง

               - ปลาชนิดนี้ เป็นปลาอะโรวาน่า ที่มีรูปร่างที่คล้าย อะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย มากที่สุด โตเต็มที่ ประมาณ 90 เซนติเมตร

  • ลักษณะที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ระหว่างอะโรวาน่าออสเตรเลีย กับอะโรวาน่าจากเอเชีย
              - คือ จำนวนแถวของเกล็ด จะมีมากแถวกว่า โดยอะโรวาน่าออสเตรเลีย จะมีเกล็ด 7 แถว แต่อะโรวาน่าเอเชีย จะมีเพียง 5 แถว ส่งผลให้ขนาดของเกล็ดปลามีขนาดเล็กลง ขอบเกล็ด จะออกสีส้ม เหลือบเขียว เป็นรูปเสียวพระจันทร์




  • อะโรวาน่าออสเตรเลียตะวันออก ( Spotted Saratoga )

- Scleropages leichardi มีถิ่นกำเนิดในรัฐควีนส์แลนด์ ในลุ่มแม่น้ำ Dawson  อะโรวาน่า ชนิดนี้หรือเรียกสั้นๆว่า อะโรวาน่าออสเตรเลียจุด ก็เพราะว่า ปลาชนิดนี้ เมื่อโตเต็มที่ จะมีจุดสีแดง 1-2 จุด ตามขอบเกล็ดทุกเกล็ด ซึ่งก็สวยและแปลกไปอีกแบบ

- ปลาชนิดนี้ มีรูปร่างค่อนไปทางยาว แนวหลังไปส่วนหัวจะไม่สโคปดั่งชนิดแรก ที่พบในออสเตรเลีย


เพื่อนๆค่ะ สุดท้ายนี้คิดว่าเพื่อนๆคงจะรู้จักเจ้าอะโรวาน่ามากขึ้น นอกจากปลาที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไป อย่างสายพันธุ์ทองมาเลย์ แดงอินโดแล้วยังมีสายพันธุ์อื่นๆอีก เรื่องราวของเจ้าอะโรวาน่าถ้ามีเพิ่มเติม คนชอบปลา จะมาแนะนำเพื่อนๆ อีกนะค่ะ....

ปลาอะโรวาน่าอัฟริกา



                                                            
                                                  อะโรวาน่าอัฟริกา





ชื่อวิทยาศาสตร์  Heterotis niloticus หรือ Clupisudis niloticus

อะโรวาน่าที่มาจากทวีปอัฟริกา มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นคือ  Heterotis niloticus หรือเรียกว่า อะโรวาน่าอัฟริกา

 Heterotis niloticus เป็นอะโรวาน่าชนิดเดียวที่พบใน บริเวณลุ่มน้ำ ส่วนกลางของบริเวณ Sahelo Sandanian และในทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำไนล์ และไปจนถึงฝั่งตะวันตก ของทวีปอัฟริกา

  • อะโรวาน่าอัฟริกา
- มีขนาดใหญ่ที่สุดถึง 4 ฟุต ลำตัวค่อนข้างแบนและกว้าง ส่วนหัวค่อนข้างสั้น และหนา ด้านบนโค้งขึ้นเล็กน้อย ลำตัวบริเวณด้านหลังและด้านข้าง มีสีน้ำเงินอมดำ น้ำตาล น้ำตาลอมเทา น้ำตาลอมแดง หรือน้ำตาลอมเขียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ปลาอาศัยอยู่

- ส่วนบริเวณท้อง จะมีสีซีด จางกว่าด้านข้างลำตัว อาจจะมีสีครีม น้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลอมเหลือง ส่วนครีบต่างๆ จะมีสีคล้ายลำตัว จงอยปากสั้นและกลม ริมฝีปากหนา

- ปากมีขนาดเล็ก แต่มีฟันเต็มปาก ไม่มีหนวด ที่ขากรรไกรล่าง ครีบหลังและครีบท้อง อยู่ค่อนไปทางด้านหาง และมีความยาว เกือบเท่ากัน ครีบทั้ง 2 อันยาวจนถึงโคนหาง แต่ไม่ติดกับครีบหาง

- ครีบหางมีขนาดเล็ก รูปร่างกลม ครีบอกและครีบท้องมี ขนาดเล็ก ครีีบอกอยู่ค่อนไปทางด้านล่างของลำตัว ครีบท้องมีก้านครีบเพียง 6 ก้าน อยู่ค่อนไปทางด้านหน้าของลำตัว 

- เกล็ดบริเวณตัวมีขนาดใหญ่ บริเวณหัวไม่มีเกล็ด เกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 32-38 เกล็ด เส้นข้างตัว เป็นเส้นตรงเริ่มจากจุด เหนือแผ่นปิดเหงือก ไปจรดที่จุดกึ่งกลางของโคนหาง

  • อะโรวาน่าอัฟริกา จะสร้างรังเพื่อวางไข่ จะสร้างโดยใช้ต้นไม้น้ำ ประเภทกก ดดยเอาลำต้นของต้นไม้น้ำ เหล่านั้นมาซ้อนกันเป็นรูปวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 4 ฟุต เมื่อทำความสะอาด พื้นที่บริเวณ ที่ทำรังเรียบร้อยแล้ว ปลาตัวเมีย จะวางไข่โดยมีตัวผู้เฝ้าไข่จนกระทั่งฟักออกเป็นตัว ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 วัน ไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5


ปลาอะโรวาน่า อเมริกาใต้


ปลาอะโรวาน่า อเมริกาใต้



ปลาอะโรวาน่าจากทวีปอเมริกาใต้ ก็เป็นอีกกลุ่มที่น่าสนใจมีด้วยกัน 3 ชนิดมีแหล่งกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ชาวพื้นเมืองในแหล่งที่แม่น้ำผ่านจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า " ลิงน้ำ " (Water Monkey) เนื่องจากการกระโดดขึ้นมากินแมลงที่เกาะบนกิ่งไม้เหนือผิวน้ำปลาที่มีจากทวีปนี้คือ Osteohlossum ซึ่งได้แก่

ปลาอะโรวาน่าเงิน (Silver Arowana) 
  • Osteoglossom bicirrhosum เป็นปลาอะโรวาน่าที่มีถิ่นกำเนิดในลุ่มน้ำอะเมซอน และกิอานา (Guiana) อเมริกาใต้ ลักษณะค่อนข้่างไปทางยาวเรียวไปทางส่วนหาง ท้องแบนราบเป็นสัน มีราคาถูก
  • ปลาสายพันธุ์นี้มีความแตกต่างจากอะโรวาน่าสายพันธุ์อื่นๆ ก็ตรงที่ลำตัวยาวเมื่อโตขึ้นมาตาจะตก ยกเว้นปลาในธรรมชาติ สีบางตัวอาจจะมีสีน้ำเงินอมเหลือง บางทีโตขึ้นมาจะมีสีขาว เป็นสายพันธุ์ที่เลี้ยงง่าย มีเสน่ห์ประจำสายพันธุ์ เติบโตค่อนข้างไวมาก

ปลาอะโรวาน่าดำ (Black Arowana) 
  • Osteoglossom Ferreirai เป็นปลาอะโรวาน่าที่มีรูปร่างคล้ายกับอะโรวาน่าเงินมาก แตกต่างกันเพียงแค่ตอนที่ยังเล็กตัวจะมีสีดำ มีแถบสีดำคาดที่บริเวณตา แต่พอถึงบริเวณลำตัวจะเป็นแถบเหลืองคาดยาวตลอดลำตัวไปถึงบริเวณโคนหาง ในปลาที่โตเต็มวัยจะดูคล้ายกับอะโรวาน่าเงินมาก แต่ในอะโรวาน่าดำจะมีครีบทุกครีบออกสีน้ำเงิน ชายครีบอาจจะมีขลิบเหลืองตลอดความยาวของครีบ และยังมีขนาดเล็กกว่าอะโรวาน่าเงินมาก การเลี้ยงดูค่อนข้างยากกว่าสีเงินเล็กน้อย

ปลาอะราไพม่า หรือปลาช่อนยักษ์ (Aarapaima)
  • ปลาอะราไพม่า จะกินปลาตระกูลแคชฟิชเป็นอาหาร บางชนิดชอบกระโดดขึ้นมาเหนือน้ำเพื่อจับอาหาร ปลาชนิดนี้เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่สามารถเติบโตได้ถึง 10 ฟุตน้ำหนักถึง 400 ปอนด์


ปลาอะโรวาน่าเขียว


                                     
                                                                 ปลาอะโรวาน่าเขียว




  • เป็นปลาที่มีความหลากหลายในเรื่องของสีสรร และรูปทรงของลำตัว เพราะพบกระจายอยู่ใน หลายประเทศ เช่น มาเลเซีย พม่า อินโดเซีย และประเทศไทย ที่จังหวัดจันทบุรี ตราด ระยอง และภาคใต้ที่มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย รวมถึง ประเทศลาว เขมร อีกด้วย
  • ปลาสายพันธุ์นี้มีการแพร่กระจายอยู่ทั่วไปจึงไม่แปลกที่ปลาสายพันธุ์นี้จะปะปนมากับอะโรวาน่าทองหรือแดงอยู่เสมอ จริงๆแล้วปลาทั้ง 4สายพันธุ์ก็คือปลาชนิดเดียวกัน แต่เนื่องจากอยู่ในสภาะแวดล้อมที่ต่างกันจึงทำให้ปลาแต่ละแหล่งน้ำมีสีสันไม่เหมือนกัน
  • ด้วยความที่มีอยู่หลายประเทศจึงทำให้เกิดความหลากหลายของสีสรร รูปทรง ดังกล่าว บางตัวออกสีเขียวอมใส แต่บางตัวสีออกเขียวขุ่นแกมดำ เกล็ดบริเวณด้านข้างลำตัวมีสีเงิน หรือเงินเหลือบเขียว ครีบทุกครีบสีน้ำตาลอมเขียว
  • รวมทั้งมีรูปทรงคล้ายกับสายพันธุ์ทองมาเลย์ คือ ค่อนข้างโต และยังคล้ายกับทองอินโดด้วยเช่นกันมีราคาถูกที่สุด ยกเว้นสีทองอ่อน หรือ ทองหางเหลือง แต่ถ้ามีฐานเกล็ดออกสีม่วง ถือว่าเป็นตัวที่หายากมาก

ปลาอะโรวาน่า ที่มาจากทวีปอเมริกาใต้ ก็เป็นอีกกลุ่มที่น่าสนใจมีด้วยกัน 3ชนิด มีแหล่งกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ซึ่งชาวพื้นเมืองในแหล่งที่แม่น้ำพาดผ่านจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า" ลิงน้ำ " (Water Monkey) เนื่องจากลักษณะการกระโดดขึ้นกินแมลงที่เกาะบนกิ่งไม้เหนือผิวน้ำของปลาชนิดนี้ ชื่อสกลุลปลาที่มาจากทวีปนี้ คือ Osteohlossum


ปลาอะโรวาน่าทองอินโดนีเซีย


ปลาอะโรวาน่าทองอินโดนีเซีย




ปลาอะโรวาน่าทองอินโดนีเซีย

  • เป็นปลาที่มีนิสัยดุร้าย มีขนาดใหญ่กว่าอะโรวาน่าสายพันธุ์ทองมาเลย์ ในปลาขนาดเล็กจะมีสีทองด้านกว่าทองมาเลย์ อย่างเห็นได้ชัดไม่เหมาะสมที่จะเลี้ยงรวมกัน เพราะนิสัยดุร้าย ยากที่จะเลี้ยงรวมกัน 2ตัว
  • พบใน Pekan Baru ในประเทศอินโดนีเซีย
ปลาอะโรวาน่าทองอินโด หากเทียบสีแดงและทองมาเลย์ ราคาของทองอินโดจะอยู่ในระดับที่พอเล่นได้ไม่ค่อยแพงมากนัก ถูกจำแนกคล้ายๆกับสายพันธุ์ทองมาเลย์ หากแต่สีทองในปลาชนิดนี้จะแตกต่างจากทองมาเลย์ตรงส่วนเกล็ดที่ไม่เปิดข้ามหลัง และไม่เหลืองอร่ามทั้งตัว เช่นเดียวกับทองมาเลย์ การแบ่งชนิดก็จำแนกตามสีเกล็ด คือเวลาที่โตเต็มวัยมันจะไม่ทองเหลืองอร่ามไปทั้งตัว 

ปลาอะโรวาน่าทองอินโด สามารถแบ่งประเภทตามสีของเกล็ดได้ 4 ประเภท คือ พวกมีฐาน เกล็ดสีน้ำเงิน สีเขียว และสีทอง

ปลาอะโรวาน่าทอง ที่มีขนาดเล็กจะมีสีด้านกว่าของมาเลย์อย่างเห็นชัด โดยรวมแล้วปลาอะโรวาน่าทองอินโดจะมีขนาดใหญ่กว่าทองมาเลย์ 

ปลาอะโรวาน่าทองอินโด ได้รับการคุ้มครองจาก ไซเดส CITES ถึงแม้ว่าจะมีอยู่ตามธรรมชาติ


ปลาอะโรวาน่าแดง


ปลาอะโรวาน่าแดง




ปลาอะโรวาน่าแดง (Red Arowana)

  • ปลาชนิดนี้มีขนาดเล็ก ชายคลีบหางและอก ริมฝีปากจะออกเหลือบแดง เมื่อโตเต็มที่เกล็ดและเหงือกปลาจะมีสีแดงเข้ม 
  • มักพบตามแหล่งน้ำทางตะวันตกของกัลลิมันตันในประเทศอินโดนิเซีย เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากสีสรรสวยงามและราคาถูกเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ทองมาเลย์ 
ปลาอะโรวาน่าแดง ยังแบ่งย่อยออกได้อีก 4 ประเภท คือ

1. แดงเลือดนก (Blood Red)
2. แดงพริก (Chilli Red)
3. แดงส้ม ( Orange Red)
4. แดงอมทอง (Golden Red)

  • ปลาทั้ง 4 สายพันธุ์ถูกเรียกรวมกันว่า Super Red แต่จะมีสายพันธุ์ Orange Red กับ Golden Red เมื่อโตเต็มที่จะมีสีออกไม่แดงมาก คุณภาพสีจะออกไปทางสีส้มอมแดง ทองอมแดงมากกว่า
ข้อแตกต่างปลาชิลี่เรด (Chilli Red) และ บลัดเรด (Blood Red) 
  • เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในแม่น้ำ Dapaus และทะเลสาป Sentarum ที่มีสีดำของแร่ธาตุและอาหาร ซึ่งมีผลต่อสีของปลา ทำให้ปลาสายอะโรวาน่าแดงถูกย่อยสลายสายพันธุ์ออกไปอีก โดยแบ่งตามความเข้มของสีแตกต่างกัน และรูปร่างของปลาด้วย ความแตกต่างนี้ยังสามารถนำไปแยกสายปลาอะโรวาน่าแดงออกจากกันได้อย่างชัดเจน อย่างเช่นการแยก ปลา Chilli Red และ ฺBlood Red ออกจากกัน
  • สีแดงในปลา บางครั้งเอาแน่นอนไม่ได้ บางตัวกว่าจะเปลี่ยนเป็นสีแดงต้องใช้เวลาฉะนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องความอดทนสังเกตุดูปลาอยู่ตลอด ปลา Chilli Red จะมีการพัฒนาของสีที่ช้ากว่า Blood Red ซึ่งสีแดงจะขึ้นช้ากว่า Blood Red 1-2 ปีทีเดียว
  • ปลาทั้งสองชนิดมีข้อแยกแยะ อีกอย่างคือ ฐานของเกล็ด Chilli Red จะมีเกล็ดงอกออกเหลือบเขียว และเป็นเงาแวววาว ในขณะที่ของ Blood Red จะแวววาวคล้ายทองมาเลย์มากกว่า

ปลาอะโรวาน่าทองมาเลย์


ปลาอะโรวาน่าทองมาเลย์




ปลาอะโรวาน่า
  • จริงๆแล้วปลาอะโรวาน่าที่คนนิยมเลี้ยงกัน เพราะความเชื่อ และความสวยงามท่าทีท่วงท่าที่สง่างาม เหมือนอย่างมังกร คนเชื้อสายจีนจะให้ความศรัทธา ในวัฒนธรรมของชาวจีนซึ่งมีความเชื่อว่า มังกรเป็นตัวแทนของความโชคดี ความเข้มแข็งและมีอำนาจ สามารถคุ้มครองป้องกันปีศาจและนำมาซึ่งความโชคดี

ปลาอะโรวาน่า
  • แหล่งที่พบ ทวีปเอเชีย ทวีปอัฟริกา ทวีปอเมริกาใต้ และออสเตรเลีย ปลาในแต่ละทวีปจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน มีความโดดเด่นพิเศษแตกต่างกันออกไป และราคาก็ต่างกันด้วย

ปลาอะโรวาน่า ที่นิยมเลี้ยงกันนั้นมีอยู่ไม่กี่สายพันธุ์ พันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ อะโรวาน่าสายพันธุ์เอเชีย ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ราคาแพงที่สุดเนื่องจากสีสันอันสวยงามยิ่งกว่าทองคำเปลว และยิ่งสีแดงซึ่งมีมนต์ขลัง

ชื่อทางวิทยาศาสตร์  Scleropages Formosus จะมีรูปร่างค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ที่มาจากอเมริกาใต้
ปลาอะโรวาน่าทองมาเลย์  Arowana Cross Back 

ถิ่นที่อยู่อาศัย พบมากที่ ประเทศมาเลเซีย

ชื่อเรียกมีแตกต่างกันออกไป เช่น ปาหังโกลด์ มาลายันโบนีทัง (Malayan Bony Tongne) โกปิงโกลด์เดน, บูกิทมีราชบูล เป็นต้น ซึ่งชื่อที่ใช้เรียกนี้เป็นจุดที่พบปลาอะโรวาน่าได้บ่อยๆ 

 ลักษณะทั่วไป 
  • ลำตัวยาว ด้านข้างแบน เกล็ดมีขนาดใหญ่เรียงเป็นระเบียบสวยงาม เกล็ดบริเวณเส้นด้านข้างลำตัวมีประมาณ 24 ชิ้น ตาโตปากใหญ่เฉียงขึ้นด้านบน ฟันแหลม ครีบหลังและครีบก้นยาวไปใกล้บริเวณหาง สันท้องคม มีหนวด 1 คู่อยู่ใต้คาง ขนาดโตเต็มวัยประมาณ 90 ซม. หนักถึง 7 กก. ปลาโตเต็มวัยสามารถโดดงับอาหารสูงถึง 1 เมตร
  • ชอบว่ายอยู่บริเวณผิวน้ำ
อาหารของปลาอะโรวาน่า  ได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก แมลง สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก เช่นจิ้งจก

- ปลาที่พบแต่ละที่ก็จะมีความสวยงามแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะความงามของเกล็ดปลาอะโรวาน่าทองมาเลย์ ซึ่งถือว่าเป็นปลาที่แพงที่สุดในบรรดาปลาอะโรวาน่าทั้งหมด เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ให้ลูกน้อยเพาะพันธุ์ยาก ในธรรมชาติหาได้ยากเต็มที่ มีเลี้ยงเฉพาะในมาเลเซีย สิงค์โปร์เท่านั้น
ปลาอะโรวาน่าสายพันธุ์ทองมาเลเซีย แบ่งออกเป็น 3 พวกใหญ่ๆ
  1. สายพันธุ์ ที่มีฐานเกล็ดสีม่วงหรือสีน้ำเงิน (Blue or Purple Based)
  2. สายพันธุ์ ที่มีฐานเกล็ดออกสีแดง (Gold Based)
  3. สายพันธุ์ ที่มีฐานออกสีเขียว (Green Based)
 ปลาสายพันธุ์ที่1 กับสายพันธุ์ที่ 3 บางครั้งจะถูกจัดอยู่ด้วยกันเพราะมีความคล้ายกันในเรื่องของเกล็ด ส่วนสายพันธุ์ที่มีฐานเกล็ดสีทอง จัดเป็นสุดยอดของปลาอะโรวาน่าทองมาเลเซีย เพราะเมื่อปลาโตเต็มที่ ปลาจะมีสีทองเหลืองอร่าม ดูเหมือนทองคำเคลื่อนที่และยังเป็นปลาที่มีสีทอง อ้อมข้างหลังได้เร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ หรือที่เราเรียกว่าหลังเปิด ถึงแม้ปัจจุบันจะหาปลาะโรวาน่าสายพันธุ์แท้ได้ยาก เพราะมีการผสมข้ามสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์เกิดขึ้นมาใหม่ที่มีชื่อทางการค้าว่า Platinum White Golden และ Royal Golden Blue Arowana กลับได้รับความนิยมในตลาดของญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก และยังมีราคาสูงอีกด้วย

ปลาเสือตอ



                                                                              ปลาเสือตอ




ชื่อ สามัญ Siam Tiger Fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ Coius Microlepis

ปลาเสือตอ พบปลาชนิดนี้ได้ทั่วไปทางประเทศทางแถบร้อน เช่น ไทย อินโดนีเซีย พม่า เขมร ถ้าในประเทศไทยเราพบมากในบึงบอระเพ็ด แม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง, แม่น้ำน่าน และแถบอิสาน แม่น้ำโขง, แม่น้ำชี, แม่น้ำมูล

ลักษณะทั่วไป
  • มี รูปร่างลำตัวที่เล็กแบนข้าง
  • ส่วนที่เป็นหน้าผากขาวลาด
  • ปากกว้าง และยืดหดได้
  • ครีบหลังยาว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นหนามแข็ง 12 อัน ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อน และครีบล่างส่วนแรกเป็นหนามแข็งขนาดใหญ่ลดหลั่นกัน 3 อัน ส่วนหลังเป็นก้านครีบอ่อนเป็นแผ่นใสขอบกลม
  • หางเป็นรูปมนมีเกล็ดขนาดเล็กมีหนาม
  • ลำตัวสีครีมออกชมพูและสีเหลืองสดใส มีแถบดำใหญ่พาดขวางลำตัวประมาณ 6 แถบ ขนาดความยาวโตเต็มที่ยาว 16 นิ้ว หนักถึง 7 ก.ก
ลักษณะนิสัย

  • เป็นปลาอยู่เป็นฝูงเล็กๆใต้น้ำ โดยอาศัยใกล้ตอไม้ หรือโพรงหินด้วยการลอยตัวอยู่นิ่งๆ หัวทิ่มลงเล็กน้อย หากินตอนกลางคืน อาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กและแมลงต่างๆ ชอบอยู่ตามแหล่งไม้จึงได้ชื่อว่า ปลาเสือตอ
  • สายพันธุ์ ปลาเสือตอในประเทศไทยที่นิยมมีอยู่ 3 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์เสือตอน้ำจืด 2 สายพันธุ์และเสือตอน้ำกร่อยอีก1 สายพันธุ์
ปลาเสือตอที่นิยมและมีราคาสูงที่สุด คือ ปลาเสือตอลายใหญ่ และเสือตอลายคู่ (ลาย 7 ขีด) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดต้องนำเข้าจากประเทศเขมร

การเลี้ยงปลาเสือตอ

  • ปลาเสือตอในแหล่งน้ำธรรมชาติจะกินอาหารประเภทสัตว์น้ำทุกชนิด เช่นกุ้งฝอยและลูกปลา ส่วนปลาเสือตอในตู้กระจกสามารถฝึกให้กินเหยื่อชนิดอื่นได้ เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา กุ้งและหนอนแดง
  • ปลาเสือตอ สามารถวางไข่ได้โดยวิธีธรรมชาติ ประมาณเดือนมีนาคม พฤษภาคม ปลาเสือตอเพศผู้จะมีขนาดโตเต็มวัยเมื่อน้ำหนักประมาณ 300-400 กรัม ส่วนเพศเมียขนาดประมาณ 800 กรัมจะได้วัยเจริญพันธุ์ ไข่ปลาเสือตอเป็นไข่ประเภทลอยน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 14-17 ชัวโมง อุณหภูมิ 29 องศาเซลเซียล อาหารที่เหมาะกับลูกปลาเสือตอวัยอ่อน ได้แก่ โรติเฟอร์ในระยะ 3-10 วันแรก ต่อจากนั้นใช้ไรแดงเลี้ยงจนลูกปลาขนาดถึง 3ซม. เมื่อโตขึ้นนั้นจึงใช้หนอนแดงหรือลูกปลาเล็กเป็นอาหารต่อไป

โรคและปัญหาของปลาเสือตอ มักจะเกิดจากปรสิตที่ติดมากับปลาเสือตอในธรรมชาติที่พบประจำ คือ

-ฝีตามตัว มีลัษณะเป็นตุ่มตามตัว หรือส่วนทวารขนาดค่อนข้างใหญ่ เป็นตุ่มบวมปูดออกจากผิวหนัง รักษาโดย ให้แยกปลาที่ป่วยออกมา ใช้ยาปฏิชีวนะ ผสมน้ำ 1 ช้อนโต๊ะต่อ 1 แคปซูล ราดบนตัวกุ้งฝอยเป็นๆ แล้วเทให้ปลากินวันละ 2-3 ครั้ง

-โรคอิ๊ก หรือจุดขาว ให้ใช้ยาซุปเปอร์อิ๊กที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป แช่ปลาตามอัตราส่วนที่กำหนด สีของปลาเสือตอจะแสดงถึงความสมบูรณ์ของปลา หากไม่สบายหรือป่วยสีของปลาจะแสดงให้เห็น ถ้าตกใจหรือป่วยจะออกสีดำ ครีบหุบ

ถ้าลักษณะที่สมบูรณ์ ครีบจะกางสีออกเหลืองสดใส ลายดำออกซีด ครีบกางตั้งทั้งปลาขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่

ปลาออสการ์( Astronotus ocellatus )




                                                         ปลาออสการ์ 




ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า   Lobotes ocellatus

ชื่อสามัญว่า   Oscar, Red Belvet, Velvet Cichlid, Marbled Cichlid, Peacock-Eyed Ciclid, Tiger Oscar, Peacock Cichlid

ปลาออสการ์ เป็นปลาน้ำจืด ที่จัดอยู่ในตระกูล Cichlidae  มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้บริเวณลุ่มน้ำอเมซอน และประเทศปารากวัย

ปลาออสการ์ แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ 5 ชนิด ได้แก่ ออสการ์สีพื้น ลายเสือ ลายแดง  สีเผือก หางยาว และอาจจะมีประเภทอื่นๆอีก ได้แก่ เผือกตาแดง สีฟ้า และลายหินอ่อน รวมทั้ง เผือกทอง เผือกเสือแดง ฯลฯ   
ปลาออสก้าที่นิยม และเพาะพันธุ์ ได้ในบ้านเรามีหลายพันธุ์ และมีชื่อเรียก ตามสีและลวดลายตามลำตัว เช่น ออสก้าทอง ออสก้าลายเสือ ออสก้าเสือเผือก ออสก้าทองเผือก เป็นต้น

ลักษณะะโดยทั่วไป
  • เป็นสายพันธุ์ปลาหมอที่มีขนาดใหญ่ และน่าเกรงขาม มีสีสันบนลำตัวที่สวยงาม ปากกว้าง ริมฝีปากหนาทั้งบนและล่าง ลำตัวมีสีสันแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนใหญ่จะมีสีดำหรือน้ำตาลเข้ม มีสีแดงกระจายอยู่ตามลำตัว และหนาแน่นบริเวณข้างลำตัว  ยามแหวกว่ายครีบในส่วนต่างๆจะแผ่กว้างสง่างาม ยิ่งเวลาที่กินเหยื่อยิ่งดูดุดัน น่ากลัว รูปลักษณะจะคล้ายปลาแรด แต่ไม่มีกระโหลกนูนออกมา
  • โตเต็มที่ความยาวประมาณ 33 ซม.หรือประมาณ 12-14 นิ้ว ตัวผู้และตัวเมียจะไม่แตกต่างกัน

อุปนิสัย
  • เป็นปลาขนาดใหญ่ที่นิสัยดุร้าย หวงถิ่นที่อยู่ โดยเฉพาะช่วงที่จะผสมพันธุ์วางไข่จะดุร้ายมาก

การเลี้ยงดู
  • เลี้ยงง่ายไม่ยุ่งยาก สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อไม่ว่าจะเป็นบ่อปูน บ่อดิน หรือแม้แต่ในตู้กระจกเป็นปลาสวยงาม ถ้าเลี้ยงในตู้ควรที่จะให้ตู้ใหญ่สะหน่อย และไม่ควรมีอุปกรณ์ของตกแต่งตู้มากเกินไป เพราะปลาออสการ์เป็นปลาขนาดใหญ่ ต้องการพื้นที่มาก ควรตกแต่งด้วยกรวด หรือหินแม่น้ำก็พอ ส่วนน้ำที่ใช้เลี้ยงให้ใช้น้ำเก่าที่พักไว้ หรือผู้ที่เลี้ยงในบ่อให้ใช้น้ำสะอาด

อาหาร
  • ออสการ์เป็นปลาที่กินเนื้อ ของชอบคือ อาหารสด ไม่ว่าจะเป็นกุ้ง ไรทะเล หนอนแดง ไส้เดือนน้ำ หรือแม้แต่ลูกปลาตัวเล็กๆ ก็ถือว่าเป็นอาหารจานโปรดของเจ้าออสการ์ เช่นกัน ส่วนอาหารเม็ดต้องฝึกให้กินบ้าง เพราะถ้าหาอาหารสดยาก อาจจะให้กินอาหารเม็ดแทนหาซื้อได้สะดวกง่ายดี

ข้อควรระวัง
  • ถ้าอุณหภูมิของน้ำสูงทำให้มีโอกาศเป็นเชื้อราได้ง่าย ควรทำน้ำให้สะอาดโดยการถ่ายน้ำออกประมาณ 25 % ต่อสัปดาห์ พร้อมทั้งสังเกตุปลา ว่ามีการกินอาหารตามปกติและเคลื่อนไหวปกติหรือเปล่า  ถ้าเกิดความผิดปกติ อาจหมายถึงปลาเป็นโรค อาจจะเป็นเชื้อรา จุดขาว หรือพยาธิ ให้แยกปลาเพื่อทำการรักษา


ปลาหมอสี








                                                                                                ปลาหมอสี
 





ปลาหมอแรมโบลิเวีย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Microgeophagus altispinosa

ชื่อเรียกทั่วไปว่า Bolivian Butterfly Cichlid

Altispinosa  เป็นภาษาละติน แปลว่า ปลาที่มีครีบกระโดงสูง

           ปลา หมอแคระ Altispinosa มีความคล้ายคลึงกับ ปลาหมอรามิเรซ หรือแรมมาก โดยแหล่งอาศัยส่วนใหญ่ ถูกค้นพบในแถบลุ่มแม่น้ำ Mamori ของประเทศโบลิเวีย จึงมีชื่อเรียกว่า " แรมโบลิเวีย "


          อุปนิสัย ปลาหมอแรมโบลิเวียมีนิสัยดี สุภาพไม่ดุร้ายและก้าวร้าว นอกจากชอบแสดงคงามเก่งในการแสดงอาณาเขต แย่งชิงถิ่นอาศัย หรือแย่งจับคู่ ก็จะแสดงออกโดยการตอดกัดบ้างแต่ไม่รุนแรงเท่าไรนัก


ลักษณะ โดยทั่วไป เพศผู้ใบหน้าจะมีแถบสีดำพาดลงมาเป็นทางยาว ก้านครีบกระโดง 2-4 ก้านแรกจะมีสีดำ และปลายครีบในส่วนต่างๆ เช่น ครีบท้อง ครีบทวารและครีบหาง จะมีขลิบสีแดงเรื่อๆ ส่วนปลายครีบจะยื่นออกมาเป็นชายยาว และตรงบริเวณท้องจะมีสีแดงระเรื่อ ส่วนเพศเมียจะสีอ่อนจางกว่าตัวผู้มาก


การเลี้ยงดู สามารถเลี้ยงดูรวมกับปลาหมอแคระในสกุลเดียวกันได้ และสามารถเลี้ยงรวมกับปลาสวยงามประเภทอื่นๆรวมได้ด้วย

อาหาร เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายกินได้เกือบทุกอย่างเป็น ไม่ว่าจะเป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูป ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง ไรน้ำจืดและไรทะเล ในส่วนของอาหาร ควรเป็นอาหารที่สดใหม่ และควรล้างด้วยน้ำสะอาดเพื่อป้องกันโรค และน้ำในตู้เน่าเสีย